ตรวจคัดกรองทางเดินอาหารและตับ

นพ.นัทธ์ชนัน ปรีชากวิน แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ

ตรวจทางเดินอาหาร และตับ ตรวจอะไรบ้าง?

หลัก ๆ แบ่งการตรวจคัดกรองออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 : ทางเดินอาหารส่วนบน (Upper)

  • หลอดอาหาร
  • กระเพาะอาหาร
  • ลำไส้เล็กส่วนต้น

ส่วนที่ 2 : ลำไส้ส่วนปลาย(Lower)

  • ลำไส้ใหญ่

ส่วนที่ 3 : การตรวจตับและท่อน้ำดี

  • โครงสร้างของตับ
  • การทำงานของตับ
  • ถุงน้ำดี
  • ท่อน้ำดี

ทำไมถึงต้องตรวจทางเดินอาหาร และตับ?

เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลําไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ และท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทยเป็นอันดับต้นๆ

ดังนั้นเราจึงแนะนําไม่ให้ทําการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เนื่องจากในระยะเริ่มต้นเราสามารถรักษาให้หาย และได้ผลดีในการรักษา ดังนั้นจึงแนะนําตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่มีความเสี่ยง

ใครควรตรวจทางเดินอาหาร และตับ?

ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือ อายุมากกว่า 40 ปีที่มีประวัติครอบครัวเป็นกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ หรือติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่

  • มีอาการปวดท้อง, ท้องอืด , ปวดท้องรุนแรงไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • ท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก

ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น หรืออาการของภาวะมะเร็งที่แสดงออกมาร่วมกัน

การตรวจทางเดินอาหารและตับมีวิธีตรวจอย่างไรบ้าง?

สําหรับการตรวจทางเดินอาหารแนะนําว่า วิธีที่แม่นยําและได้ผลชัดเจนมากที่สุด และสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปส่งตรวจเพื่อยืนยันเรื่องของมะเร็งได้นั้น คือ การตรวจการส่องกล้องทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการส่องกล้องกระเพาะอาหารกับลําไส้เล็ก และลําไส้ใหญ่

แต่อย่างไรก็ตามในกรณีในกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง ในการส่องกล้องหรือการดมยา เราอาจจะปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนว่ามีวิธีการตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นที่ไม่รุนแรง เช่น การส่องกล้องร่วมด้วยหรือไม่ การตรวจเลือด การเก็บอุจจาระ หรือการตรวจภาพรังสี เป็นต้น แต่สําหรับการตรวจตับและทางเดินน้ำดีนั้น เราแนะนําว่าทําการตรวจโดยการเริ่มต้น ตั้งแต่การเจาะเลือด เพื่อตรวจหากลุ่มเสี่ยง อัลตราซาวด์ ช่องท้องส่วนบน เพื่อดูเรื่องการทํางานของตับและท่อน้ำดี

สุดท้ายในกรณีที่เราเจอก้อน หรือจําเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมเพื่อความละเอียดมากขึ้น หมออาจจะแนะนําการตรวจเอกซเรย์ภาพ ที่มีกลไกที่มากขึ้นกว่าเดิม

ส่วนการตรวจคัดกรองสําหรับตับนั้น หมอแนะนําว่าอาจจะทําการตรวจตั้งแต่การตรวจเลือด เพื่อหากลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคตับ หรือการตรวจโครงสร้างการทํางานของตับ ไม่ว่าจะเป็นการอัลตราซาวด์หรือการตรวจเอกซเรย์ที่เพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อดีของการตรวจคัดกรอง

การตรวจทางเดินอาหารและตับ จะทําให้เราสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งหรือโรคที่มีภาวะรุนแรงได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หากเราพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เราสามารถรักษาให้หายขาด และผลการรักษาจะออกมาค่อนข้างดี

ข้อดีของการส่องกล้องทางเดินอาหาร

  • แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง และในกรณีที่เราตรวจพบพยาธิสภาพ เราสามารถตรวจพยาธิสภาพนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
  • กรณีที่พบติ่งเนื้อหรือเนื้องอก แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันที
  • หากสงสัยว่าจะมีเนื้อร้าย สามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ทันที
  • ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • เจ็บปวดน้อยมากและไม่มีบาดแผลจากการผ่าตัด
  • การส่องกล้อง ไม่มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องใดๆ ดังนั้นคนไข้จะไม่เกิดความเจ็บปวด หรือไม่จําเป็นต้องพักฟื้นใด ๆ ทั้งสิ้น

โรคในระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะแค่แผลเล็กๆในกระเพาะอาหาร ก็สามารถส่งผลอันตรายในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหาร การรกษาสุขอนามัย แม้เราจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเกิดขึ้นได้  เราควรหมั่นตรวจคัดกรอง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เพราะจะช่วยให้เราทราบถึงความผิดปกติ และรักษาได้ทันท่วงที  

นพ.นัทธ์ชนัน ปรีชากวิน

แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้