ทริคดีๆ สอนลูกน้อยเข้าสังคม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ พร้อมวิธีการรับมือ "การบูลลี่"

ทริคดีๆ สอนลูกน้อยเข้าสังคม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ by นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์

ความกังวลใจเรื่องลูกน้อยของพ่อๆแม่ๆ นอกจากปัญหาสุขภาพแล้ว ยุคนี้คงหนีไม่พ้น เรื่องการสอนลูกของเราเข้าสังคม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ รวมถึงปัญหาสุดหนักใจอย่างการรับมือ เรื่อง "การบูลลี่กันในเด็ก" ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตของเด็กได้ในระยะยาว โดยบทความนี้ คุณหมอท๊อฟฟี่ หรือ นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และผอ.รพ.แพทย์รังสิต จะพาคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทุกคน ทำความเข้าใจและเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ในการสอนลูกน้อยหรือบุตรหลานของเรา รวมถึงเป็นกำลังใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคน ในการหล่อหลอมลูกน้อยของเราในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างราบรื่บขึ้น

จริงๆแล้ว หลักการควรเริ่มจากการสอนให้ลูกเราเข้าใจ สำคัญที่สุด คือ ควรเริ่มจากการที่สอนให้ลูกของเรามีความเข้าใจตนเอง โดยเริ่มจาก....

  • การทำ Mood Check หรือการเช็กอารมณ์ตนเองอย่างต่อเนื่อง และผู้ปกครองควรจะสังเกตอารมร์ของลูกตนเองว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสอนลูกของอีกที เพื่อช่วยส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจอารมณ์ตนเองมากขึ้น เช่น การบอกว่าการที่ลูกแสดงออกแบบนี้ คือ อารมณ์ของความเสียใจ ความสุข เป็นต้น
  • การเรียนรู้ความคิดของตนเอง เพื่อให้ลูกเจ้าใจว่าตอนนี้ตนเองกำลังต้องการทำสิ่งใด หรือกำลังคิดสิ่งใดอยู่ ส่วนนี้จะช่วยทำให้เด็กเรียนรู้และพยายามที่จะสื่อสารความต้องการของตนเอง
  • การเรียนรู้ที่จะยับยั้งชั่งใจ เนื่องจากการเข้าสังคมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความให้เกียรติกันและการแบ่งปันกัน เพราะฉะนั้นการสอนให้เด็กรู้จักการรอคอยรวมถึงการแบ่งปันกัน

การสอนให้เด็กเข้าสังคม

ช่วงเวลาที่ลูกของเราจะต้องเริ่มเข้าสังคมอย่างจริงจัง นั่นก็คือ ช่วงเวลาที่ลูกของเราเริ่มเข้าโรงเรียนนั่นเอง การเข้าสังคมจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ และการสังเกตของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการสนับสนุน และให้คำแนะนำ ตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น ระหว่างที่ลูกกำลังเล่นกับเพื่อน เป็นต้น

 การบูลลี่ในเด็ก ปัจจุบันทำว่าเป็นปัญหาที่พบได้เรื่อยๆ ในหมู่เด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต การป้องกัน และการอบรมสั่งสอนเด็กนั้น พ่อแม่ควรเริ่มต้นจากการหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเด็กสม่ำเสมอ ในกรณีเด็กถูกกลั่นแกล้ง อาจส่งผลทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าไม่อยากเข้าสังคม หรือที่เรียกว่า Social withdrawal มีการเก็บตัว แยกตัวเองออกจากสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและสภาพจิตใจของเด็กในระยะยาว

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกถูกแกล้ง

การรับมือนั้น หลังจากที่เราสอนให้เด็กเรียนรู้ความรู้สึก ความคิดตนเองแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการและมีความเข้าใจมากขึ้น พ่อแม่ควรสนับสนุนและสั่งสอนเด็กสม่ำเสมอ เมื่อเด็กถูกแกล้ง ให้เด็กรู้วิธีการรับมือ การหยุดเหตุการณ์นั้นผ่านการสื่อสารทั้งคำพูดและการสื่อสารทางด้านร่างกาย เช่น การรายงานคุณครู การบอกเพื่อว่าให้หยุดการกระทำนั้น เป็นต้น

สุดท้ายนี้ ปัญหาสองด้านที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรพึงระลึกถึง คือ ด้านแรก กลุ่มอาการออทิสติก แม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ลูกชอบเล่นคนเดียว การไม่เข้าสังคม รวมถึงการอยากเข้าสังคม แต่ไม่รู้วิธีการเข้าหา ส่วนด้านที่สอง คือ ปัญหาด้าน Social phobia หรือการกลัวการเข้าสังคม ซึ่งลักษณะเด็กเหล่านี้จะมีความขี้อาย เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นปัญหาไหน ในสองด้านนี้ อาจส่งผลต่อการเข้าสังคมลูกน้อยของเราได้ ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองนำลูกหรือบุตร เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการประเมิน รวมถึงเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ชำนาญการในการเลี้ยงดูบุตรหลาน

รับชม Video เพิ่มเติม :

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้