ท่าบริหารแก้ปวดคอ บ่า

การปวดคอ บ่า และสะบัก

โดยปกติบริเวณที่แสดงอาการปวดสามารถเกิดได้ตั้งแต่หลังท้ายทอย บริเวณต้นคอ บ่ารวมถึงสะบัก โดยที่กล้ามเนื้อบริเวณคอบ่าสะบักส่วนใหญ่ มักจะแข็งเกร็ง หรือตึงตัว ทำให้ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนได้สุดช่วง เมื่อมีอาการปวดร้าวเกิดขึ้น เป็นเพราะมีการกดทับของเส้นประสาท โดยอาจจะเกิดที่กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่าแข็งเกร็งจนกดทับเส้นประสาทที่ออกมาจากลำคอ ผู้ป่วยจะมีอาการจะปวดร้าวจากคอบ่าไปจนถึงปลายนิ้วมือ ในบางรายอาจจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ชาหรืออาการอ่อนแรงของแขนร่วมด้วย

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อไหร่ ?

  • มีอาการปวดคอบ่ามานานกว่า 2 - 4 สัปดาห์
  • มีอาการปวดคอบ่า หลังได้รับอุบัติเหตุ
  • มีอาการอ่อนแรงของแขน หรือมีอาการชา หรือปวดร้าวไปที่แขนร่วมด้วย
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวคอหรือขยับคอได้เป็นปกติ

สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ ?

สาเหตุหลักของอาการปวดคอบ่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมทำงานค้างในท่าเดิมนานๆ หรือขยับท่าเดิมซ้ำๆ โดยสามารถแจกแจงสาเหตุของอาการปวดได้ ดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้คอผิดท่าทาง หรือคงค้างอยู่ในท่าเดิมนานเกิน 20 นาที เช่น ก้ม/พับ/เงยคอ ตกหมอน
  • พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของที่มีน้ำหนักมากไว้บนศีรษะ
  • โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด โครงสร้างกระดูกผิดปกติ
  • ภาวะเครียด ส่งผลให้เกิดการแข็งเกร็ง หรือตึงตัวกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่าสะบัก
  • ภาวะของโรคข้ออักเสบบางชนิด ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกและข้อ เช่น โรครูมาตอยด์

ท่าทางการปฏิบัติตัวในท่านั่งทำงาน

  • ท่าทางการปฏิบัติตัวในท่านั่งทำงาน
  • ต้นคอ และแผ่นหลังตั้งตรง
  • ผ่อนคลายหัวไหล่ให้ขนานกับพื้น
  • แขนแนบลำตัว เก้าอี้ที่พักแขน
  • ขอบบนสุดของหน้าจอคอม อยู่ระดับเดียสกับสายตา
  • หมอนรองข้อมือ
  • ที่พักเท้า

การดูแลตนเองพื้นฐานในอาการปวดคอบ่าสะบัก

ผู้ป่วยสามารถที่จะประคบร้อนและประคบเย็นเวลาที่มีอาการปวดได้ไม่แนะนำให้นวด/บีบเค้นในบริเวณที่ปวด การประคบร้อนหรือเย็น ให้พิจารณาและปฏิบัติ ดังนี้...

ประคบร้อน (Hot)ประคบเย็น (Cold)
กล้ามเนื้อตึงเกร็ง หรือ ต้องการให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวมีการอักเสบเพิ่มขึ้น ทราบได้จากการปวดเพิ่ม ผิวแดง ร้อนวูบวาบ
ทำก่อน/หลังกายบริหารทำหลังกายบริหารเมื่อปวดเพิ่ม
15 - 20 นาที / ครั้ง10 – 15 นาที / ครั้ง

* เมื่อประคบเย็นเสร็จหากตึงมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถประคบอุ่นต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผิวหายเย็น
* ควรทานยาที่แพทย์จ่ายร่วมด้วยเมื่อมีอาการปวดมากขึ้น

ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก

ท่าที่ 1 นั่งเก้าอี้มือไขว้หลัง จากนั้นเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม นำมืออีกข้างกดศีรษะลง จนรู้สึกตึง ค้าง 15 วินาที 10 - 20 ครั้ง

ท่าที่ 2 นั่งเก้าอี้มือไขว้หลัง เอียงศีรษะร่วมกับหันหน้าก้มมองสะโพกด้านตรงข้าม นำมืออีกข้างกดศีรษะลง ค้าง 15 วินาที 10 - 20 ครั้ง

ท่าที่ 3 นั่งเก้าอี้มือไขว้หลัง เอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม แล้วหันหน้าไปทางไหล่ข้างที่ไขว้หลัง นำมืออีกข้างกดศีรษะลงจนรู้สึกตึง ค้างไว้ ค้าง 15 วินาที 10-20 ครั้ง

ท่าที่ 4 ออกแรงกดเข้าหาลำตัว เกร็งคอต้านแรงค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง

ท่าที่ 5 นั่งคุกเข่า เหยียดตัวและแขนราบไปกับเตียง กดไหล่เข้าหาเตียง ทำค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 10 - 20 ครั้ง

ท่าที่ 6 หุบกางแขน 2 ข้างให้สุด ให้รู้สึกตึงบริเวณอกสองข้าง ทำค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 10 - 20 ครั้ง

ท่าที่ 7 A. ท่าตั้งต้น : เหยียดแขนหรือตั้งฉากศอกกับกำแพง

B. ท่าบริหาร : หมุนตัวไปด้านตรงข้ามกับแขนที่เท้ากับกำแพง จนรู้สึกตึงที่ต้นแขนหรือหน้าไหล่ ค้างไว้ในจุดที่รู้สึกตึง 15 วินาที 10 ครั้ง/เซ็ต โดยทำ 2 - 3 เซ็ต/วัน

รับชม Video เพิ่มเติม :

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้