ปัญหาจิตเวชที่พบบ่อยในวัยทำงาน

ใจพังเพราะที่ทำงาน เบื่อ หมดไฟ ไม่อยากตื่นมาทำงาน เหนื่อยไม่มีสาเหตุ ขาดความมั่นใจในตัวเอง หรือว่าเราจะเป็น...

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชีวิตวัยทำงานอาจมีปัญหามากมายที่อาจส่งผลต่อ 'สุขภาพจิต' ไม่ว่าจะความคาดหวังในงาน สภาพแวดล้อม หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน

ชวนทำความรู้จักกับ 5 ปัญหาจิตเวชที่พบได้ในวัยทำงาน นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแพทย์รังสิต จะมาเล่าถึงปัญหาทางจิตเวชและอาการที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน และผลกระทบอาจเกิดขึ้นได้

Burn out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน

หมดไฟ เบื่อ ทำงานเหนื่อย คิดงานมาทั้งวันแล้ว อาจทำให้สมองเหนื่อย อ่อนล้า ขาดแรงบันดาลใจมาทำงาน ไม่อยากทำงาน รู้สึกเพลียทั้งวัน นอนหลับแล้วก็เหมือนนอนไม่พอ รู้สึกท้อแท้ หรือว่าโทษตัวเองว่า เราอาจจะดีไม่พอ เราไม่เก่ง สุดท้ายผลงานออกมาไม่ดีตามที่เราคาดไว้

ถ้ามีภาวะ burnout คงต้องรีบมารักษานะครับ เนื่องจากว่าปัญหาเรื่องของ burnout จะเป็นปัญหาตั้งต้นของโรคจิตเวชในหลายๆ พอเราเครียด เหนื่อย เพลียไปนานๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของปัญหาต่อมา คือ 'ขาดความมั่นใจในตัวเอง'

Low Self Esteem ภาวะความพึงพอใจในตัวเองต่ำ

ภาวะความพึงพอใจในตัวเองต่ำ  เป็นอาการของคนที่เริ่ม 'ไม่มั่นใจในตัวเอง' พอเราไม่มั่นใจ จากที่เมื่อก่อนรู้สึกมั่นใจกว่านี้ เราเก่ง เราทําได้ ทําไมตอนนี้ งานเดิมแม้เราจะทําได้ เราก็รู้สึกว่าเราดีไม่พอ พอเริ่ม Low Self Esteemไม่มั่นใจในตัวเองแล้ว  ตรงนี้เป็นหัวเชื้อ เป็นต้นตอของปัญหาหลายๆ อย่างด้านจิตเวช ไม่ว่าจะเป็นโรคของโรควิตกกังวลและซึมเศร้า

Anxiety Disorder โรควิตกกังวล ซึมเศร้า

โรควิตกกังวล ซึมเศร้า จะมีอาการวิตกกังวลแบบทั่ว ๆไป กังวลในหลายๆเรื่อง อาการแรกเริ่มเลยอาจจะดูเหมือนเป็น เป็นคนมีเหตุผล  วางแผนในเรื่องต่างๆ พรุ่งนี้จะทำอะไร จะกินอะไรดี กินแล้วจะเกิดอะไรขึ้นคิดแล้วคิดอีก คิดซ้ำซ้อน ทั้งเรื่องงาน การดูแลชีวิตประจำวันต่างๆ พอคิดเยอะๆ สิ่งนี้แหละคือเริ่มเป็นโรควิตกกังวลแล้วความคิดรบกวนชีวิตประจำวันไม่กล้าตัดสินใจ ลังเลคิดมากจนปวดศีรษะ ต้นคอ คล้ายออฟิศซินโดรมขาดสมาธิ

Panic Disorder โรคแพนิค

'แพนิค' เป็นหนึ่งในปัญหาท็อปฮิตที่เป็นเยอะมาก ซึ่งจริงๆอาการแพนิค เราก็จะสังเกตตัวเองว่า เหมือนเราเป็นคนปกติเลย แล้วอยู่ดีๆ มีอาการตกใจ ตื่นเต้น ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก ท้องไส้ปั่นป่วน มือชา รู้สึกหวิว ๆ บางทีวิญญาณจะหลุดออกจากร่างเลย แล้วก็พอเจออาการเหล่านี้ เรารู้สึกว่าเราจะตายไหม เราจะตายหรือเปล่า แย่แล้วนะ โดยที่อาการจะมาสั้นๆ ประมาณ 15-30 นาที แล้วก็จะหายไปสักพัก อาจจะหายไปเป็นวัน หรือเป็นอาทิตย์ แล้วก็กลับมาเป็นอีก กลุ่มอาการนี้ก็คือเป็น panic attack ที่เราอาจจะต้องมารับคำแนะนำและเข้ารับการรักษา

Adjustment Disorder ภาวะเครียด

เครียด อีกหนึ่งอาการที่เราพบบ่อย คือ เมื่อเราเครียด หรือกังวลมากๆ อาจทำทำให้สมองทํางานแย่ลง จิตตกสมองตก สมาธิหาย รู้สึกว่าชีวิตไม่มีความสุข เศร้าเกือบทุกวัน ทั้งวัน เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้มีอาการเบื่อหน่ายไม่มีแรง การนอนมีปัญหา รู้สึกผิดโทษตัวเอง บางทีรู้สึกว่าอยากตาย แต่การเริ่มต้นของอาการอยากตาย ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่ว่าอยากหลับไปไม่ให้ตื่นเลย อยากหนีไปให้พ้นๆ แต่อาการเล็ก ๆ เหล่านี้ อีกไม่นานก็อาจจะพัฒนาเป็นเรื่องของความรู้สึกที่อยากตาย หรืออยากทําร้ายตัวเองได้

ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไหนก็ตาม ทุกโรคสามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ จริง ๆ แล้วหากเริ่มมีอาการ คนไข้ควรจะต้องมาพบจิตแพทย์ หรือพบผู้เชี่ยวชาญในการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ก่อนที่จะปล่อยให้เรื้อรัง ไม่งั้นอาจจะมีผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด การใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของงาน

หากเราหรือคนใกล้ชิดมีอาการ ควรรีบแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ควรมองข้ามความเครียด กังวลเล็กๆ สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ไม่ว่าจะเรื่องงาน ความสัมพันธ์ หรือตัวเองเอง หากปัญหาที่พบไม่สามารถเล่าให้ใครฟังได้ จิตแพทย์เป็นทางเลือกที่ทุกคนสามารถเล่าทุกปัญหา พร้อมช่วยและหาทางแก้ไขได้

รับชมวิดีโอ

นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
จิตแพทย์ด้านเด็กและวัยรุ่น และผอ.รพ.แพทย์รังสิต

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้