ภาวะมีบุตรยาก เกิดขึ้นได้อย่างไร แนวทางรักษา

ภาวะมีบุตรยาก

หมายถึง การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กัน โดยที่ไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ โดยที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีบุตรยาก เช่น ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือ ฝ่ายชายที่มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เคยติดเชื้อบริเวณอัณฑะ

เช็กสัญญาณเบื้องต้นที่ทำให้มีบุตรยาก

สัญญาณภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงสัญญาณภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย
◉ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันควร
◉มีอาการตกขาวผิดปกติ
◉ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน
◉เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
◉มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ส่งผลให้ท่อนำไข่อุดตัน
◉เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน
◉มีประวัติการแท้งบุตร
◉เคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
◉ประวัติครอบครัวมีบุตรยาก
◉มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว
◉มีน้ำอสุจิน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งน้ำอสุจิ
◉เคยติดเชื้ออัณฑะอักเสบ
◉เคยผ่าตัดบริเวณถุงอัณฑะ มีผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิ
◉เคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หรือโรคติดเชื้อคลาไมเดีย เพราะอาจทำให้ทางเดินน้ำอสุจิเกิดภาวะตีบแคบ ส่งผลให้มีปัญหาในการสร้างเชื้ออสุจิ

สาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

การมีบุตรยากนั้นอาจเกิดจากผู้หญิง ผู้ชายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเกิดจากทั้งสองฝ่ายโดยที่อาจเกิดจากฝ่ายหญิง ประมาณ 40 % เช่น อายุมากภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในฝ่ายชายประมาณ 25 %  จากปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เชื้ออสุจิไม่แข็งแรง ส่วนใน 35% หรือ ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีโรคประจำตัว ขาดสารอาหาร และไม่ทราบสาเหตุประมาณ 10% ดังนั้นภาวะการมีบุตรยากจึงต้องได้รับการ ตรวจคัดกรองภาวะผู้มีบุตรยาก ทั้งสองฝ่าย

ทำอย่างไรเพื่อให้ทราบสาเหตุภาวะมีบุตรยาก?

คำแนะนำที่ดีที่สุดคือการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกายทั้งฝ่ายชายและหญิงโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุการมีบุตรยาก จากนั้นจึงทำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยที่มีรายการตรวจดังนี้

ฝ่ายหญิงฝ่ายชาย
✓การตรวจระดับฮอร์โมน
✓การตรวจดูการทำงานของไข่
✓การอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่
✓การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
✓การเอกซเรย์ฉีดสีท่อนำไข่และโพรงมดลูก
✓การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ
✓การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย
✓การอัลตราซาวด์ลูกอัณฑะและหลอดเลือด
✓การส่องกล้องตรวจช่องภายในท้อง ถุงอัณฑะ

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจภาวะมีบุตรยาก

  • อายุน้อยกว่า 35 ปี ที่พยายามมีบุตร ไม่ต่ำกว่า 12 เดือน แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์
  • อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปที่พยายามมีบุตร ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์

แนวทางเพิ่มโอกาสในงานตั้งครรภ์

ปัญหาภาวะมีบุตรยากนั้นเกิดขึ้นกับหลายๆชีวิตคู่ หากการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองเบื้องต้นแล้วยังไม่เห็นผล ปัจจุบันนั้นยังมีทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตั้งครรภ์นั้นมีด้วยกันหลายวิธี

เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตั้งครรภ์

ความแตกต่างระหว่างวิธี IUI , IVE , Egg Freezing ,ICSI

ข้อมูลตามตารางดังกล่าวเป็นเพียงแบบประเมินเบื้องต้น ผู้ที่ประสงค์จะมีบุตรควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษา และรับแนะนำ เพื่อใช้เทคโนโลยีตามความหมาะสมสำหรับบุคคล

  1. IUI (ไอยูไอ) Intra – Uterine Insemination การฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
  2. IVF (ไอวีเอฟ) การทำเด็กหลอดแก้ว IN-VITRO FERTILIZATION
  3. Egg Freezing การแช่แข็งไข่
  4. ICSI (อิ๊กซี) Intracytoplasmic Sperm Injection

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสมีบุตรได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก(IUI) ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกวิธีการที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยวิธี IUI และอีกหนึ่งวิธีที่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ตั้งครรภ์มากที่สุด “IVF หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว

พญ.พัชรินทร์ เกียรติสารพิภพ

สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้