ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว จะแบ่งเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วห้องบน และห้องล่าง และมักพบบ่อยๆ ก็คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วห้องบน

อาการส่วนใหญ่มักพบว่า มีอาการใจสั่นขึ้นมาทันทีทันใด และถ้าหายก็จะหายแบบทันทีทันใด ถ้าจับชีพจรมักจะสวิงเกิน 150 - 200 ครั้งต่อนาที ปัญหาของหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว คือ คนไข้มักมีอาการอยู่ที่บ้าน และเมื่อมาถึงโรงพยาบาลอาการจะดีขึ้น จึงทำให้ตรวจพบไม่เจอ

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว ?
มีการตรวจวินิจฉัยหลายแบบ ดังนี้

  • การหมั่นสังเกตตนเอง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจ
  • การติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 - 48 ชั่วโมง
  • นาฬิกาบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อัตราการเต้นหัวใจ
  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย
  • การสวน และกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (การวินิจฉัยชนิดนี้ จะสามารถบอกอาการแน่ชัดได้อย่างแม่นยำ) ว่าหัวใจเต้นผิดปกตินั้นเป็นแบบใด

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถรักษาด้วยการสวน และจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ โดยปัจจุบนี้มีถึง 2 แบบด้วยกันคือ การสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจแบบ 2D หรือ 3D และการรักษานี้มีโอกาสหายขาดได้ถึง 92 - 98% โดยผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต และการรักษาก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยใช้เวลาการรักษา 1 - 2 ชั่วโมง ต่อผู้ป่วย 1 ราย และผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวด และไม่ทรมานมาก แต่อาจมีอาการรู้สึกอุ่นๆ ตรงหน้าอกเท่านั้นเอง

การรักษาด้วยการสวน และจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ แบบ 2D และ 3D แตกต่างกันอย่างไร ?
การรักษาแบบ 3D หรือ 3มิติ ระหว่างการรักษา จะสามารถเห็นภาพการเคลื่อนไหวของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างชัดเจน โดยวิธีนี้จะได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูง มีความแม่นยำกว่าแบบ 2D

บทความโดย
นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว
แพทย์ชำนาญการด้านการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้