ลูกเป็น"สมาธิสั้น" หรือเปล่า? หรือแค่ซนตามวัย ?

ซนตามวัย ซนแบบไหนถึงเรียกว่าตามวัย ?

โดยปกติแล้วเด็กก่อนอายุ 6 ขวบ จะใช้การเล่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ และยังมีมุมมองความเข้าใจโดยยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่ทั้งนี้หากพฤติกรรมการเล่นนั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บทางร่างกาย และไม่สามารถควบคุมจัดการพฤติกรรมนั้นได้ อาจตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสมาธิสั้นได้

โดยทั่วไปแล้ว มักพบใน 5-8 เปอร์เซ็นต์ในเด็ก และ 2.5เปอร์เซ็นต์ในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กผู้ชาย มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง และเด็กผู้หญิงมักมีอาการขาดสมาธิ โดยพฤติกรรมของกลุ่มอาการสมาธิสั้นจะก่อให้เกิดปัญหาที่บ้าน ที่โรงเรียน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

กลุ่มอาการ สมาธิสั้น แยกได้อย่างไรบ้าง?

  • กลุ่มอาการขาดสมาธิ
  • กลุ่มอาการไม่นิ่ง หุนหัน
  • กลุ่มอาการขาดสมาธิและไม่นิ่ง หุนหัน
  • มีอาการนานเกิน 6 เดือน และเกิดขึ้นก่อนอายุ 12 ปี

ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะสมาธิสั้น

  • พันธุกรรม 25%
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ
  • คลอดก่อนกำหนด
  • การได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์
  • ความเครียดรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์

การวินิจฉัย"สมาธิสั้น"

  • ประวัติส่วนตัว และประวัติเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียน
  • การตรวจสภาพจิต เพื่อเปรียบเทียบระหว่างภาวะปกติและภาวะผิดปกติ
  • การตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคทางกายที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคทางจิตเวช

การรักษา"สมาธิสั้น"

  • การปรับพฤติกรรม
  • การใช้ยาเพิ่มสมาธิ ทั้งนี้หากพบว่า อาการสมาธิสั้นไม่ปรากฎ 1 ปี หรือเด็กพฤติกรรมดีขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ยังทานยาขนาดเท่าเดิม ก็สามารถหยุดยาได้

การป้องกันภาวะสมาธิสั้น

  • ระวังไม่ให้ติดจอ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ให้มีกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน ให้เหมาะสมกับช่วงวัย
  • มีเวลาคุณภาพด้วยกัน
  • เสริมแรงเชิงบวกสำหรับพฤติกรรมดี

บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์

ทำความรู้จักเกี่ยวกับ"โรคสมาธิสั้น" เพิ่มเติม :

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้