ลูกโตช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน ส่งผลเสียมากว่าที่คิด ผลกระทบจาก " ภาวะตัวเตี้ย "

ลูกโตช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน ส่งผลเสียมากว่าที่คิด ผลกระทบจาก " ภาวะตัวเตี้ย "

ชวนคุณพ่อคุณแม่เห็นผลกระทบและความอันตรายที่เด็กๆไม่สูงตามเกณฑ์ หรือโตช้ากว่าเพื่อนๆวัยเดียวกัน อาจต้องเจอในอนาคต🚨และจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิด ภาวะตัวเตี้ย หากมีภาวะนี้มีโอกาสรักษาได้หรือไม่ โดยบทความนี้พ.ญ.อัมพาพรรณ์ นรสุนทร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม มีคำตอบค่ะ

ผลกระทบจากการที่เด็กมีภาวะเตี้ย

อย่างแรกเลยก็คือการที่เขามีอัตราการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเวลาเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน แน่นอนว่าอาจจะต้องถูกล้อเลียนว่าดูตัวเล็กกว่าเพื่อน รวมทั้งถ้ามันมีภาวะแทรกซ้อนหรืออะไรที่มีสาเหตุซ่อนอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะมีอันตรายถึงชีวิต เช่น

  • มีภาวะที่มีก้อนเนื้องอกในสมอง ต้องรีบรับรักษาเพิ่มเติม
  • มีภาวะขาดฮอร์โมนเช่น
  • ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือว่าขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
  • การเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญาที่ผิดปกติ

หากมี "ภาวะตัวเตี้ย" รวมถึงมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย และทำการรักษาให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มเติมค่ะ

รู้ได้อย่างไร ว่าลูกเรามี "ภาวะตัวเตี้ย"

ข้อบ่งชี้ที่ทำให้ทราบว่าเด็กมี "ภาวะตัวเตี้ย" โดยแพทย์จะประเมินจาก

1.ประเมินจากกราฟการเจริญเติบโต

แพทย์ประเมินจากกราฟการเจริญเติบโต หนึ่งจุดแล้วก็คือน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ทายที่สาม

2.ซักประวัติความสูงของคุณพ่อคุณแม่

แพทย์จะซักประวัติความสูงของคุณพ่อคุณแม่ นํามาคํานวณความสูงตามพันธุกรรม ถ้าจบขอบล่างของกรรมพันธุ์ลงมาถือว่าผิดปกติ

3.การเจริญเติบโตลดลงผิดปกติ

ถ้าในเด็กคนนั้นได้มาตรวจติดตามฉีดวัคซีนต่อเนื่อง แล้วเราจุดกราฟการเจริญเติบโตของเขามาตลอด แล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโตเขาน้อยกว่าปกติมาก หรือไม่โตขึ้นเลย แบบนี้ถือว่าผิดปกติ

ภาวตัวเตี้ย สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

ภาวะตัวเตี้ย สามารถรักษาให้หายได้ โดยจะแบ่งเป็น

1.ภาวะตัวเตี้ยที่มีสาเหตุชัดเจน

ภาวะตัวเตี้ยที่มีสาเหตุชัดเจนอย่างเช่นถ้าขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือว่าขาดไทรอยด์ฮอร์โมน แพทย์ก็จะให้ฮอร์โมนทดแทนในระยะเวลาที่เหมาะสม สิ่งนี้ก็จะช่วยให้ฮอร์โมนทดแทนในระยะเวลาที่เหมาะสม และทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ปกติ

2.ภาวะตัวเตี้ยจากกรรมพันธุ์

ภาวะตัวเตี้ยจากกรรมพันธุ์ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นภาวะส่วนใหญ่ เช่น ถ้าพ่อแม่ตัวเล็ก ลูกก็อาจจะตัวเล็กกว่าปกติ แต่ว่าเราก็สามารถให้คําแนะนําเพิ่มเติมได้ เช่น

  • การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี ได้แก่การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีน ดื่มนมให้เพียงพอ
  • ได้รับการเสริมแคลเซียม วิตามินดีอย่างเหมาะสม
  • ออกกําลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-5 วันต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะ ออกกําลังกายที่เป็นการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ เล่นบาส
  • ได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ทํางานได้อย่างเต็มที่

วิธีการเหล่านี้ก็จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างปกติ

" ภาวะเติบโตช้า หรือ ภาวะตัวเตี้ยในเด็ก จริงๆในปัจจุบันก็จะเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ ค่อนข้างกังวลกับความสุขของลูกมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่า น้องๆ คนไหนที่ดูตัวเล็กกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือว่าตัวเล็กกว่าผิดปกติหรือว่าอัตราการเจริญเติบโต หรือใน 1 ปีที่ผ่านมา สังเกตุว่าน้องมีการเจริญเติบโตน้อยผิดปกติ ควรรีบพบแพย์เพื่อตรวจติดตามเพิ่มเติม ทั้งในการเจาะเลือด ดูระดับฮอร์โมนหรือว่าเอกซเรย์อายุกระดูก โดยกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่ออีกทีนึงค่ะ ถ้ามาภายในระยะเวลาอันทันท่วงที ก็จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ทําให้ลูกของท่านสามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติค่ะ "

_______________________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ

พ.ญ.อัมพาพรรณ์ นรสุนทร
(กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม)

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้