นอนกรน หยุดหายใจ อาการที่เกิดจากต่อมทอนซิลโต ต่อมอะดินอยด์โต

นอนกรน หยุดหายใจ อาการที่เกิดจากต่อมทอนซิลโต ต่อมอะดินอยด์โต

หน้าที่และความสำคัญของต่อมอะดินอยด์และต่อมทอนซิล

ต่อมอะดีนอยด์กับต่อมทอนซิล มีความสําคัญในตอนเด็ก เนื่องจากต่อมเหล่านี้คือกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองบริเวณของหลังโพรงจมูกและช่องคอ ซึ่งคอยดักจับเชื้อโรคต่าง ๆที่มากับอาหารและอากาศ เมื่ออายุมาก ๆ ขึ้น ต่อมอะดีนอยด์ก็จะค่อย ๆ ฝ่อลง เนื่องจากว่ามีภูมิต้านทานมากขึ้น เมื่อการติดเชื้อลดลงหน้าที่ของต่อมอะดีนอยด์ก็จะค่อยๆหมดไป ตอนอายุสักประมาณเข้าสู่วัยรุ่น ช่วง 11-12 ปีขึ้นไป ต่อมอะดีนอยด์ควรต้องยุบลง

ใครเสี่ยง?

ปัญหาของต่อมอะดีนอยด์มักจะมีในเด็ก เนื่องจากว่าเป็นวัยที่อยู่โรงเรียน อาจจะมีการติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ทําให้ต่อมอะดีนอยด์โตขึ้น จนเกิดการอักเสบ

ผลกระทบจากต่อมอะดีนอยด์โต

1.)การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยขึ้น

เมื่อต่อมอะดีนอยด์โตขึ้นมากจะไปอุดกั้นโพรงจมูก เกิดการอักเสบแล้ว จะมีอาการคล้ายๆไข้หวัด บางรายอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • คัดจมูกมากขึ้น คัดจมูกไม่หาย
  • ไอเรื้อรัง
  • หูชั้นกลางอักเสบ จากการติดเชื้อหูและหูน้ำหนวกบ่อยๆ
  • ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ต่อมอะดินอยด์โตอาจไปปิดกั้นช่องระบายของโพรงไซนัส ทำให้เกิดการสะสมของเมือกและเชื้อโรค ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในไซนัสบ่อยๆ

อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น เนื่องจากเชื้อโรคสะสมอยู่ที่ต่อมอะดีนอยด์ และไม่สามารถที่จะไหลลงคอหรือว่าจะกําจัดไปได้ นอกจากจะทําให้มีลักษณะของการติดเชื้ออักเสบได้ง่ายบริเวณอวัยวะข้างๆ หูชั้นกลาง และกลุ่มไซนัสแล้ว ยังส่งผลถึงปัญหาเรื่องของการหายใจอีกด้วย

2.)ปัญหาการหายใจ

หายใจทางจมูกลำบาก หากต่อมอะดีนอยด์อักเสบบ่อย ๆ จะทําให้ต่อมอะดีนอยด์เกิดการโตมากขึ้น เวลาหายใจเด็กก็อาจจะมีการอ้าปากหายใจ

3.)ลักษณะใบหน้าและการพูดผิดปกติ

เด็กที่หายใจทางปากบ่อยๆ เนื่องจากต่อมอะดินอยด์โตอาจพัฒนาให้มีลักษณะใบหน้าแบบ "adenoid face" ซึ่งประกอบด้วยปากที่อ้าค้าง จมูกแคบ และขากรรไกรบนยื่นออกมา ในบางรายพบว่าทําให้มีรูปหน้าเปลี่ยน เช่น คางยาวมากขึ้น เพดานโก่งมากขึ้น อาจมีปัญหาการพูดลิ้นไก่หรือลิ้นตก ส่งผลให้การพูดไม่ชัดเจน

4.)ปัญหาการนอนหลับ

ขณะนอนหลับมีอาการกรนมากกว่าปกติ ในเด็กบางท่านอาจจะทําให้ถึงกับหยุดหายใจ หยุดหายใจหมายถึงว่านอนกรน แล้วก็มีการเหมือนกับกลั้นการหายใจ สัก 10 วินาที

"หากเราสังเกตเห็นว่าเด็กอยู่ ๆ กรนแล้วหยุดหายใจไป ให้สังเกตดูด้วยนะครับว่ามีการหยุดหายใจระหว่างหลับหรือเปล่านะครับ"

การรักษา

  • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด: ในบางกรณีแพทย์อาจให้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อหรือยาลดการอักเสบเพื่อลดการอักเสบและขนาดของต่อมอะดินอยด์
  • การผ่าตัดต่อมอะดินอยด์ (Adenoidectomy): หากปัญหาต่อมอะดินอยด์โตส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมอะดินอยด์ออกเพื่อบรรเทาอาการ

_____________________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ

นพ.ดารงณ์ จีรปัญญากูล
แพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้