หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการบ่งบอก อย่าปล่อยไว้นาน

เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชีวิตอาจเปลี่ยนได้

หนึ่งในโรคภัยที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดโรคหนึ่ง คือ “โรคหัวใจ” ซึ่งในหลายๆ ครั้ง บางคนไม่ทราบว่าตัวเป็นโรคหัวใจ จนบางครั้งก็สายไป วันนี้หมอเองมีข้อมูลที่น่าสนใจมาบอกกัน ว่าด้วยเรื่อง “โรคหัวใจห้องบน สั่นพริ้วผิดจังหวะ (AF : Atrial Fibrillation)” โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด และมีความรุนแรงต่างกัน แต่ Atrial Fibrillation เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยพบสูงถึง 7.2% ในอายุมากกว่า 65 ปี และโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง ?

  • ผู้สูงอายุ โดยพบสูงถึง 20.7 คน ต่อประชากร 1,000 คน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เยื้อหุ้มหัวใจ ภาวะหัวใจโต ความดันสูงที่ควบคุมไม่ดี
  • โรคปอด เช่น ถุงลมโป่งพอง
  • ไทรอยด์เป็นพิษ
  • ภาวะหลังผ่าตัด เกรือแร่ผิดปกติ ติดเชื้อรุนแรง เป็นต้น

วิธีการตรวจว่าตนเองเสี่ยงเป็น “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ”

  • สามารถคลำชีพจรตนเองเบื้องต้นได้
  • การตรวจหาปัจจัยเสี่ยง เช่น การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอ็กซเรย์ปอด
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง

ภาวะแทรกซ้อนที่ควรรู้

ความผิดปกติของการบีบตังของหัวใจห้องบนแบบสั่นพริ้ว ทำให้เกิดตะกอนลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดสามารถหลุดลอยไปอุดตันเส้นเลือดสมอง จนทำให้สามารถเกิดภาวะสมองขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการบ่งชี้

  • ใจสั่น
  • ใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
  • เหนื่อยง่าย
  • กรณีรุนแรง จะมีภาวะน้ำท่วมปอด หรือหัวใจล้มเหลว

การดูแลรักษา

  • ควบคุมป้องกันภาวะ หรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • การให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ

การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ ในการช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการตรวขสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากโรคต่างๆ และรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อที่ทุกท่านจะได้มีเวลาอยู่กับคนที่รักไปนานๆ

บทความโดย
พญ.สรวงพัชร์ สีตกะลิน
แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้