APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

เลี้ยงลูกด้วยจอ เสี่ยง"ออทิสติกเทียม" จริงหรือไม่

ออทิสติกเทียม คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมองจนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยมีสาเหตุหลักๆ จากการเลี้ยงดู หรือขาดการดูแล การละเล่นที่เหมาะสม เช่น การเล่นมือถือ หรือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดได้จากการกระตุ้นพัฒนาการเชิงภาษาและสังคมไม่เพียงพอ

ออทิสติกแท้กับเทียม ต่างกันมากน้อยแค่ไหน ?

ออทิสติกแท้ จะเป็นกลุ่มโรค ที่ความผิดปกติของสมองจนส่งผลต่อพัฒนาการ แต่ออทิสติกเทียมนั้นไม่ใช่โรค แต่มักจะมีประวัติปัญหาการเลี้ยงดู ไม่ได้มาจากพันธุกรรมเหมือนกับออทิสติกแท้ กรณีออทิสติกเทียมหากรู้ทัน และปรับแก้ จะหายได้เร็วต่างกับออทิสติกแท้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่า

อาการที่พ่อๆแม่ๆ หรือผู้ปกครองควรสังเกต

  • พูดช้า
  • ไม่สบตา
  • ไม่พยายามสื่อสาร
  • เอาแต่ใจตนเอง
  • หงุดหงิดง่าย เวลาถูกขัดใจ
  • ไม่มีทักษะทางสังคมเท่าที่ควรจะเป็น

การรักษา  หรือการพบจิตแพทย์จำเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากปัญหาออทิสติกต้องแข่งกับเวลา ยิ่งในเด็กเล็ก หากรู้ทันและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ของการรักษาหรือแก้ไข จะได้ผลดีกว่ามาก ไม่ว่าจะออทิสติกแท้หรือเทียม นอกจากนี้การที่แนวทางการเลี้ยงดูบุตร รวมถึงการกระตุ้นพัตนาการ เป็นสิ่งจำเป็นหลักในการรักษาออทิสติกอย่างยิ่ง

สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่า ภาวะออทิสติกเทียมเอง  อาจจะมีภาวะออทิสติดแท้ซ่อนปนอยู่ด้วยเล็กน้อยอยู่เดิม พอเกิดปัจจัยทางการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมมากระตุ้น จึงทำให้อาการออทิสติก เห็นได้ชัดขึ้นครับ เนื่องจากการเล่นโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต รวมถึงการละเลยไม่กระตุ้นพัตนาการลูกรัก อาจไม่ได้ทำให้เกิดภาวะออทิสติกเทียม หรือ ปัญหาทางด้านพัตนาการในเด็กทุก ๆ รายก็ได้ ดังนั้นหากผู้ปกครองท่านใดมีความสงสัยเรื่องพัฒนาการอันสมควรตามวัยของลูก แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อประเมินและปรึกษาอาการกับแพทย์เฉพาะทางครับ

บทความโดย
นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
จิตแพทย์ด้านเด็กและวัยรุ่น และผอ.รพ.แพทย์รังสิต

ข้อมูลเพิ่มเติม :

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้