APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคร้ายที่ใกล้ตัว

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคร้ายที่ใกล้ตัว

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD or Coronary Heart Disease) คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากมีไขมันและหินปูนสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดมีการตีบ และแคบลง เมื่อเลือดไหลเวียนไปยังหัวใจได้น้อยลง ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก เพราะมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากเกิดการอุดตันขอหลอดเลือดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอาจตายเฉียบพลัน อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือ อาจเสียชีวิตกะทันหันได้

ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
            1. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
            2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
            3. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
            4. ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ
            5. ผู้ที่สูบบุหรี่
            6. ผู้ที่อ้วน
            7. ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
            8. ผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อยเกินไป
            9. ผู้ที่มีความเครียด

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ
            1. เหนื่อยง่าย ขณะออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
            2. เจ็บหน้าอก นานครั้งละ 2-3 นาที ปวดร้าวไปบริเวณไหล่ซ้าย กรามทั้ง 2 ข้าง แขนซ้าย เมื่อมีความเครียด ตื่นเต้น ตกใจ หรือ เมื่อต้องออกแรง
            3. หน้ามืด เวียนศีรษะ หมดสติ ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก
            4. นอนราบไม่ได้ มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นๆ หายๆ ขณะนอนราบเป็นเวลานาน
           

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
            1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
            2.การเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-Ray)
            3.การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
            4.การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Biomarker)
            5.การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
            6.การสวนหัวใจ หรือ การฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
            1.การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยวิธีการบอลลูน (Balloon Angioplasty)
            2.การขยายหลอดเลือดโดยการใช้เลเซอร์
            3.การขยายหลอดเลือดโดยการใช้หัวกรอ (Rotablator)
            4.การขยายหลอดเลือดโดยการใช้ขดลวด (Stent)
            5.การผ่าตัดหลอดเลือด เพื่อนำหลอดเลือดจากบริเวณอื่น มาทำหน้าที่แทนหลอดเลือดหัวใจช่วงที่อุดตัน หรือ การผ่าตัดบายพาส (By Pass)

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
            1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
            2. รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
            3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
            4. งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
            5. ลดความเครียด
            6. ตรวจสุขภาพประจำปี
7. ลดปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ควบคุมได้

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้