“ ฟื้นตัวเร็วกว่า ไม่ต้องหยุดการเต้นของหัวใจ ด้วยวิธีการผ่าตัดหัวใจบายพาส ”
การทำงานของเส้นเลือดของหัวใจ ถ้าจะกล่าวให้เห็นภาพ คงจะเปรียบเสมือนการจราจรบนท้องถนนที่มีรถสัญจรอยู่ตลอดเวลา และอาจมีในบางครั้งที่การจราจรติดขัด เราก็ต้องมีการหลีกเลี่ยง แก้ไขปรับปรุงเส้นทาง ทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ การทำงานของเส้นเลือดหัวใจก็เป็นเช่นนั้น
โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การรักษาคนไข้หัวใจขาดเลือดจากหลอดหลอดที่อุดตัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธีหลักๆ
วิธีที่ 1 การรักษาด้วยยา มักใช้กับคนไข้ที่มีพยาธิสภาพกับหลอดหัวใจที่น้อย
วิธีที่ 2 การรักษาโดยการสวนหัวใจ แล้วใช้ตัวถ่างเส้นเลือดที่เราเรียกว่า Stent
วิธีที่ 3 เป็นการผ่าตัดหัวใจ ที่เราเรียกว่า “ บายพาส ”
การผ่าตัดหัวใจบายพาส คืออะไร?
การผ่าตัดหัวใจบายพาสมีอยู่หลายเทคนิค เทคนิคที่ใช้มากที่สุด ก็คือเทคนิคการผ่าตัดโดยการหยุดหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายมาก แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งก็คือ ‘ การผ่าตัดหัวใจบายพาสแบบที่ไม่ต้องการหยุดการเต้นหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอด และหัวใจเทียม’ ด้วยการเลือก "หลอดเลือดที่มีคุณภาพดี" นำมาบายพาส เพื่อใช้เป็น graft ทำบายพาสหลอดเลือดแดงส่วนที่ตีบหรืออุดตัน ที่เราเรียกว่า OPCAB หรือ Off-Pump Coronary Artery Bypass วิธีนี้เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้ปอด และหัวใจเทียม หรือการหยุดหัวใจ
ทำไมต้องผ่าตัดหัวใจบายพาส ด้วยเทคนิคไม่ต้องการหยุดการเต้นหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอด และหัวใจเทียม?
ข้อดีของการผ่าตัดโดยวิธี OPCAB โดยไม่ใช้ปอด และหัวใจเทียม ได้แก่...
ใครควรผ่าตัดหัวใจบายพาส ด้วยเทคนิค OPCAB ?
มีการศึกษามาแล้วว่า พบว่าประโยชน์ที่สำคัญที่สุดที่จะเห็นได้ชัดที่สุดคือ ‘กลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยง’ ที่มีโอกาสเสียชีวิต หรือมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ฉะนั้นการผ่าตัดด้วยเทคนิค OPCAB จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ถ้าเทียบกับการผ่าตัดแบบหยุดหัวใจ หรือการใช้ปอด และหัวใจเทียม
ข้อควรระวัง
การผ่าตัดหัวใจบายพาสด้วยเทคนิค OPCAB ก็มีข้อที่ควรระวังด้วยเช่นกัน เนื่องจากป็นหัตถการที่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูง ไม่ใช่ว่าหมอผ่าตัดทุกรายจะสามารถทำหัตถการนี้ได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยทีมที่มีความเชี่ยวชาญ และได้ทำหัตถการอย่างเป็นประจำ ซึ่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต ได้มีการทำหัตถการอย่าง OPCAB อย่างเป็นประจำ ทำให้ทีมแพทย์มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการในการทำหัตถการนี้
______________________________________________________________________
รับชมคลิป
บทความโดย
นพ.คุณัช สถาผลเดชา
(แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจ)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน