การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ที่เรามักพบกันบ่อยๆ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่ความเสื่อมลง เช่น การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวที่ช้าลง กระดูกและกล้ามเนื้อที่เล็กลง การเคี้ยวอาหาร รวมถึงระบบอวัยวะภายในต่างๆที่มีระบบการทำงานที่เสื่อมถอยลง

แต่การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ไม่ได้พบแค่เพียงร่างกายอย่างเดียว แต่ยังพบ "การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ" และการเปลี่ยนแปลงที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุด้วย ไม่ว่าจะเป็น…

  • อาการซึมเศร้า วิตกกังวล
  • หงุดหงิด โกรธง่าย
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ขี้หลงขีลืม
  • คิดมาก คิดวนไปวนมา
    อาการด้านจิตใจดังกล่าว อาจนำไปสู่การรับรู้ ความมั่นใจที่อาจมีผลต่อการปรับตัวได้
    ดังนั้นลูกๆหลานๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงวัยจึงควรพยายามทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นนี้ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจให้มีความแข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ

การเตรียมตัวให้พร้อม ในการก้ามเข้าสู่ "วัยผู้สูงอายุ" หรือ "วัยทอง"

  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี โดยเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมถึงอวัยวะต่างๆ อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการคัดกรองโรคมะเร็ง การคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง การตรวจมูลกระดูก เป็นต้น
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ฝึกฝนการพูดคุยร่วมกัน สร้างสัมพันธ์ร่วมกับคนในครอบครัว หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • หากิจกรรมที่เพลิดเพลินและสนุกทำ
  • ฝึกบริการสมอง เป็นต้น

กรณีที่สุขภาพใจมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนใกล้ตัวควรแนะนำให้ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษา และป้องกันปัญหารุนแรงที่อาจเกิดตามมาได้

บทความนี้ อ้างอิง และเรียบเรียงข้อมูลจาก : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้