ปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อม พบได้มากขึ้นโดยเฉพาะในบุคคลที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น อย่างผู้สูงอายุ ที่มักพบว่ามีอาการปวดเข่า เดินได้น้อยลง ทำงานได้น้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม ปัญหาเกิดจากส่วนพื้นผิวในการหล่อลื่นของเข่ามีการสึกหรอลง และหากการสึกหรอมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งกระดูกอ่อนหายไปหมดลึกลงโดนตรงบริเวณที่เป็นกระดูกแข็ง ซึ่งใต้กระดูกแข็งจะมีเส้นประสาทอยู่ ก็จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บค่อนข้างมาก เกือบตลอดช่วงเวลาที่มีการเดิน สาเหตุอื่นๆ ดังนี้...
- พันธุกรรม
- อายุและเพศ เมื่ออายุมากขึ้น การซ่อมแซมของกระดูกอ่อนก็ลดลง
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- มีประวัติการบัดเจ็บที่ข้อเข่า
- การใช้ข้อเข่าหักโหม
- ป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
- เข่ามีเสียงกร๊อบแกร๊บ
- มีอาการเสียวข้อเข่า
- มีอาการปวดข้อเข่ามากขึ้นเรื่อยๆ
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
กรณีที่ผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ให้เน้นออกกำลังกายที่เป็นการสร้างกล้ามเนื้อ บริเวณข้อเข่า การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รอบๆข้อเข่า ก็ช่วยทำให้กระดูกอ่อนรับภาระลดลง
แนวทางการรักษา
- การรับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด และลดอักเสบ แต่ทั้งนี้การรับประทานยาเหล่านี้ ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาการ และการทำงานของไตมีความผิดปกติขึ้นได้
- การฉีดยา จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ...
กลุ่มที่ 1 การฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โดยจะฉีดเข้าไปในเข้าเพียงครั้งเดียว
ข้อดี คือ ลดอาการปวดเข่าได้ค่อนข้างเร็ว
ข้อเสีย คือ หากมีการฉีดบ่อยๆ จะทำให้กระดูกอ่อนของข้อเข่าซ่อมสร้างตัวเองได้ช้าลง มีความหนาของกระดูกอ่อนบางลง
กลุ่มที่ 2 การฉีดยาน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม ซึ่งผลิตจากสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสารที่อยู่ในน้ำเลี้ยงข้อเข่า ยาในกลุ่มนี้ก็จะสามารถไปลดการอักเสบได้
- การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาในระดับสุดท้าย กรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาและฉีดยามาแล้ว อาการปวดไม่ดีขึ้น ไม่สามาถจะใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือกรณีที่สอง คือ ผู้ป่วยความเสื่อมมาก ในระดับที่เรียกว่ากระดูกอ่อน เสื่อมไปหมดแล้ว หรือกระดูกแข็งมีความเสื่อม แต่ทั้งนี้การผ่าตัดข้อเข่า จำเป็นต้องมาจำแนกอายุผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากกรณีผู้ป่วยมีอายุน้อย อาจไม่จำเป็นต้องใช้ข้อเข่าเทียมในทันที แต่กรณีผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป อาจแนะนำให้ทำเป็นข้อเข่าเทียม หลังผ่าตัดโดยเฉลี่ยนประมาณ 1 – 2 วัน ผู้ป่วยสามารถยืนได้ และประมาณ 3 -4 วันผู้ป่วยสามารถเดินได้ แต่ทั้งนี้อาจจะต้องใช้ไม้ค้ำยันอยู่บ้างประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ความแข็งแรงของตัวกล้ามเนื้อกลับคืนมา
บทความโดย
นพ.สลักธรรม โตจิราการ
รับชม Video เพิ่มเติม :