APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ควรรู้ก่อน ผ่าตัดต่อมทอนซิล และต่อมอะดินอยด์โต

ในเด็กที่รักษาอาการหวัดแล้ว ยังมีอาการนอนกรนไม่หาย อ้าปากหายใจ หายใจไม่สะดวก แนะนําให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก เพื่อดูว่าหลังโพรงจมูก มีอาการบวมจากการที่มีต่อมอะดีนอยด์โตหรือเปล่า หรือแม้แต่ อ้าปากหายใจตลอดทั้งวัน นอนกรนมาก ๆ จนหยุดหายใจ อาการเหล่านี้อาจจะมีภาวะต่อมทอนซิลโต รวมทั้งต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย

ผ่าตัดช่วยรักษาอาการใดให้ดีขึ้น มีข้อดีอย่างไร?

  1. ช่วยในเรื่องการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    • เมื่อมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดแล้ว หากได้รับการตัดแล้ว จะช่วยให้ช่องทางเดินหายใจมันจะกว้างขึ้น โดยเฉพาะหลังโพรงจมูก เมื่อขูดอะดีนอยด์ออกไปจะช่วยใ้ช่องทางเดินหายใจหลังโพรงจมูกกว้างขึ้น
    • ในกรณีของการผ่าตัดทอนซิลออก ช่องทางเดินหายใจบริเวณของช่องคอก็จะกว้างขึ้น การหายใจก็จะสะดวกขึ้น หลังได้รับการผ่าตัดจะรู้ทันทีเลยว่าคนไข้หยุดกรน แม้ว่าบริเวณของลิ้นไก่อาจจะบวมอยู่บ้าง แต่การนอนกรนจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
  2. ลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ
    • ถ้าวังวนของการติดเชื้อที่เกิดจากต่อมอะดีนอยด์ ที่เป็นแหล่งที่ว่ามีการสะสมเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอยู่ด้านหลังโพรงจมูกแล้วลามไปที่หูชั้นกลาง หรือแม้แต่การติดเชื้อเข้า บริเวณจมูกและทําให้เกิดเป็นหวัดเป็นเส้นเลือดอักเสบบ่อยๆ การผ่าตัดก็จะช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น เนื่องจากว่าไม่มีแหล่งกักเก็บเชื้อโรค

ใครมีอาการอย่างไรที่ต้องรับการผ่าตัดนี้

ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์

  1. ต่อมอะดินอยด์โตขวางการหายใจ การกิน การพูดที่ผิดปกติ ขวางการหายใจหมายถึงว่านอนกรนนอนถึงกับหยุดหายใจ
  2. มีการอักเสบของต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์บ่อยๆ เช่นอักเสบมากกว่า 7 ครั้งต่อปี , มากกว่า 5 ครั้ง ต่อปี ติดต่อกัน 2 ปี , มากกว่า 3 ครั้งต่อปี ติดต่อกัน 3 ปี หรืออักเสบรุนแรงจนเกิดฝีเป็นครั้งที่สองหรือมีต่อมทอนซิลที่โตผิดปกติ หรือเกิดแผลที่เราจะสงสัยว่ามันอาจจะกลายเป็นเนื้องอกเนื้อร้าย

การผ่าตัดต่อมทอนซิล และต่อมอะดินอยด์โต

ต่อมทอนซิล และต่อมอะดินอยด์โต เป็นการทําหัตถการผ่านทางปาก โดยมีการดมยาสลบ พอดมยาสลบเสร็จ จึงใช้อุปกรณ์ที่ช่วยถ่างขยายบริเวณปาก เพื่อให้เห็นต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ จากนั้นก็ใช้วิธีการจี้ตัดด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อหยุดเลือดไปด้วยและตัดต่อมทอนซิลออกมาด้วย

ส่วนต่อมอะดรีนอยด์ก็จะมีวิธีการที่ขูดออก หรือปั่นตัดบริเวณต่อมอะดรีนอยด์ที่มันโต ซึ่งขณะผ่าตัดระหว่างที่ดมยาสลบนั้นคนไข้ก็จะไม่รู้สึกเจ็บ

ใช้เวลาผ่าตัดนานเท่าไหร่?

ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด : ขึ้นอยู่กับขนาดและอาการของคนไข้ โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที

พักฟื้นที่รพ.หรือไม่ พักฟื้นกี่วัน?

หลังผ่าตัดใช้เวลาพักฟื้นประมาน 1-2 วัน หากไม่มีเลือดออก ก็สามารถที่จะกลับบ้านได้

การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด ต้องระวังเรื่องการมีเลือดออกหลังจากผ่าตัด แนะนำให้คนไข้ดูแลตัวเองดังนี้

  • หลังผ่าตัดรับประทานช้าๆ อาหารเหลว อาหารอ่อน เย็น ไม่ร้อนจนเกินไป ห้ามรับประทานของแข็ง โดยเฉพาะช่วง 3 วันแรก
  • ภายใน 1 อาทิตย์แรกต้องรับประทานของอ่อนก่อน
  • ข้อควรระวังก็คือเรื่องของเลือดออกหลังผ่าตัด เนื่องจากว่าเป็นบาดแผลที่ไม่ได้เย็บปิด เป็นการจี้หยุดเลือดที่ลอกต่อมทอนซิลออก หรือลอกต่อมอะดีนอยด์ออก

การติดตามอาการ ระยะเวลา

ส่วนมากในเด็ก แผลค่อนข้างที่จะหายเร็ว ประมาณ 1 อาทิตย์ แผลจะหายประมาณ 90 หลังจากแผลหาย แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจดูลักษณะของบาดแผลว่าสามารถที่จะทานอาหารที่เป็นปกติได้หรือยัง หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์แพทย์จะนัดเข้ามาเพื่อติดตามอาการรวมทั้งฟังผลชิ้นเนื้อ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนมีสังเกตว่าลูกมีอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือกังวลว่ามีต่อมทอนซิล และต่อมอะดินอยด์โต สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและพิจารณาอาการเพื่อการรักษาต่อไป

นพ.ดารงณ์ จีรปัญญากูล
แพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้