APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ควรรู้ ก่อนเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ควรรู้ ก่อนเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิกฤติเข่า💢ปวดเรื้อรัง เข่าเสื่อม ลุกก็ปวด นั่งก็เจ็บ จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ' แต่ก็กลัวผ่าตัดแล้วจะเดินไม่ได้ กลัวส่งผลกับชีวิตประจำวัน..😰 หลายคนอาจสงสัยว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คืออะไร? หากเปลี่ยนแล้วจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ เพื่อคลายความกังวลและความสงสัยก่อนการรับการรักษา คลิปนี้ นพ.สลักธรรม โตจิราการ ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ มาให้ความรู้และพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คืออะไร?

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การเจียผิวที่สึกซึ่งประกอบด้วยทั้งกระดูกอ่อนและกระดูกแข็งที่สึกไปแล้วออก แล้วก็ครอบด้วยโลหะด้านบนและด้านล่างจะถูกคั่นไว้ด้วยพลาสติกที่มีความแข็งแรงสูง

แบบไหนที่ควรเปลี่ยนข้อเข่าเทียม?

อาการที่บ่งบอกว่าควรพิจารณาเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 : ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อเข่าเสื่อมซึ่งผ่านการรักษาด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่น การรับประทานยา การฉีดยา การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม หรือว่าการฉีดพ่น prp มาแล้วไม่ได้ผล

กลุ่มที่ 2 : กลุ่มผู้ป่วยเข่าเสื่อมที่มีพื้นผิวกระดูกอ่อนหายไปหมดแล้ว การฉีดยาหรือกินยา อาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรควบคู่กับการผิดรูปของกระดูกนะครับ

กลุ่มที่ 3 : ก็คือในกรณีที่มีเข่าเสื่อมควบคู่กับการผิดรูปของกระดูก

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

  1. จะเริ่มจากการเปิดเข้าไปภายในหัวเข่า
  2. เจียรพื้นผิวของกระดูกและกระดูกอ่อนที่สึกออกไปทั้งกระดูกชิ้นบนและชิ้นล่าง
  3. ครอบด้วยโลหะที่เป็นโลหะพิเศษซึ่งมีพลาสติกความแข็งแรงสูงที่อยู่ตรงกลาง
  4. ทําการทดสอบความเสถียรภาพของข้อเข่าและอยู่ในแนวที่ดีหรือไม่ แล้วก็การเคลื่อนของลูกสะบ้าดีหรือไม่
  5. หากผลทดสอบข้อเข่ามีความแน่นที่ดี อยู่ในแนวที่ดีและการเคลื่อนไหวของผิวลูกสะบ้าดี เราก็จะถึงจะทําการเย็บปิด

ประเภทของข้อเข่าเทียมที่มีให้เลือกใช้

  • เข่าเทียมครึ่งข้อ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ มีเข่าสึกแค่ฝั่งเดียว เข่าสึกไม่มาก
  • เข่าเทียมเต็มข้อ แยกออกเป็นชนิดฐานหมุนได้ ฐานหมุนไม่ได้ วัสดุที่ใช้เคลือบบริเวณผิวโลหะ เช่น ในบางรุ่นก็จะมีวัสดุเคลือบที่เป็นพิเศษ

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด

  1. การเกิดลิ่มเลือดที่ขาและที่น่อง ซึ่งเกิดขึ้นได้เนื่องจากว่าการผ่าตัดเข่าเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะมีการเจ็บปวดที่ขาบ้าง ทําให้ไม่อยากขยับขาก็เลยทําให้เกิดลิ่มเลือดที่ขาที่น่องได้
  2. การติดเชื้อ ถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่ได้ดูแลสุขภาพลักษณะเป็นอย่างดี ทําให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณอื่นของร่างกายหรือตรงบริเวณใกล้ๆกับแผลผ่าตัด ก็อาจจะทําให้เชื้อโรคเข้าไปตรงบริเวณของเนื้อเยื่อรอบๆเข่าเทียม และทําให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้

หากท่านมีความสงสัยว่าจําเป็นที่จะต้องมีการทําข้อเทียมหรือไม่ แนะนําให้มาพบแพทย์เฉพาทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อทําการปรึกษาว่าในกรณีของท่าน มีแนวโน้มจําเป็นที่จะต้องรักษาโดยการผ่าตัดข้อเข่าเทียมหรือไม่

_____________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ

นพ.สลักธรรม โตจิราการ

แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้