ดูแลตัวอย่างไร ให้ห่างไกล "โรคอัลไซเมอร์"
อาการหลงๆ ลืมๆ มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ยกตัวอย่าง เช่น ลืมว่าตนเองรับประทานอะไรในมื้อเช้า จำไม่ได้ว่าวางของไว้ตรงไหน เดินหมุนรอบตัวเพราะจไม่ได้ว่าจะหยิบสิ่งของอะไร หากเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยและพบว่ามีความรุนแรงขึ้น อาจมีผลต่อชีวิตประจำวันของตนเองและคนรอบข้าง ก็นับว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป
สาเหตุ อาจมาได้จากความเสื่อมถอยตามอายุ หรือมาจากเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ การติดเชื้อในสมอง ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 12 หรือ กรดโฟลิก หรืออาจมีเนื้องอกในสมอง หรืออาจเกิดจากการแปรปรวนของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การอักเสบของเส้นเลือดในสมองเป็นเวลานาน ยาหรือสารโลหะหนักที่เป็นพิษ โพรงน้ำในสมองขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น
แล้วเมื่อไหร่เราควรตระหนักว่าอาจจะเป็น"โรคอัลไซเมอร์" ??
หากพบว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวมีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรืออาจเป็นโรคสุขภาพอื่นๆ ควรรีบมาพบแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียด และวางแผนการรักษาต่อไป
ปัจจัยที่อาจจะมีผลในการช่วยชะลอเรื่องของการเกิดอัลไซเมอร์ คือ การับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และครบตามหมวดหมู่ เพิ่มการออกกำลังกายมากขึ้น ควบคุมโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ ควรใช้เรื่องของการกระตุ้นการใช้สมอง หรือบริหารสมอง โดยมีงานวิจัยว่าคนที่มีการกระตุ้นสมอง ได้ใช้ความคิด บริหารสมอง มีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์อยู่ที่ประมาณ 23% แต่ในขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้บริหารสมองมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงถึง 115% ทั้งนี้ปัจจุบันเรื่องของมลพิษ มลภาวะต่างๆ ในส่วนนี้ก็เหมือนเป็นตัวกระตุ้นในการโรคอัลไซเมอร์ต่างๆได้เช่นเดียวกัน
เคล็ดลับ(ที่ไม่ลับ) อาหารสมอง ต้านอัลไซเมอร์
บทความโดย
นพ.พรพจน์ ประภาอนันตชัย
แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบประสาทและสมอง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน