APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ทำเด็กหลอดแก้ว ควรต้องตรวจโครโมโซมหรือไม่?

IVF (ไอวีเอฟ) หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว   (IN-VITRO FERTILIZATION ) เป็นเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ เป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก โดยการคัดเซลล์ไข่ ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชาย  ปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการ เมื่อปฏิสนธิแล้ว จึงย้ายตัวอ่อน หรือเอ็มบริโอ (EMBRYO) กลับโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

เมื่อทำเด็กหลอดแก้วแล้ว จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมหรือไม่?

โดยปกติแล้วการคัดคุณภาพตัวอ่อนจะดูจากลักษณะหรือเกรดของตัวอ่อน และอัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อน การตรวจโครโมโซม เป็นหนึ่งในขั้นตอนทางเลือก เพื่อคัดเลือกคุณภาพตัวอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองโครโมโซมแนะนำให้ทำในรายที่

  • ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี ผู้ที่เคยแท้งติดกันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ผู้ที่เคยย้ายตัวอ่อนเกรดดีเข้าสู่มดลูกที่ผิดปกติแต่ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้
  • คู่สมรสที่มีประวัติครอบครัวเคยคลอดทารกที่ผิดปกติทางโครโมโซมมาก่อน หรือคู่สมรสที่เคยตรวจแล้วพบว่ามีโครโมโซมผิดปกติ

การตรวจโครโมโซม จะทำการแบ่งตรวจเซลล์จากตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ แล้วนำเซลล์ที่ได้ไปตรวจโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ รวมไปถึงโครโมโซมเพศด้วย ส่วนตัวอ่อนบลาสโตซิสต์จะถูกนำไปแช่แข็งเพื่อรอผลตรวจ จะใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่เกิน 1 เดือน

การย้ายตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติอาจแสดงความผิดปกติในหลายรูปแบบ เช่น

  • ตัวอ่อนหยุดการแบ่งเซลล์ตั้งแต่ยังไม่ฝังตัว
  • ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้
  • ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่ไม่สามารถสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อได้ตามปกติหรือท้องลม
  • ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่แท้งในระยะต่อมา
  • ตัวอ่อนเติบโตจนคลอดออกมา แต่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา

ข้อดีของการตรวจคัดกรองโครโมโซม คือลดโอกาสการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และลดโอกาสการแท้งได้ ทั้งนี้ ผลการตรวจคัดกรองทางโครโมโซมก่อนการย้ายตัวอ่อน ไม่ได้รับประกันผล 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นการตรวจเซลล์เพียงบางส่วนจากตัวอ่อนเท่านั้น ดังนั้นยังคงแนะนำให้ตรวจคัดกรองโครโมโซมอีกครั้งหากตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว

ส่วนข้อจำกัดของการตรวจคัดกรองโครโมโซม เช่น อาจไม่เหลือตัวอ่อนสำหรับย้ายเนื่องจากพบผลตรวจโครโมโซมผิดปกติทำให้ต้องกระตุ้นไข่รอบใหม่ หรือตัวอ่อนไม่สามารถโตจนถึงระยะบลาสโตซิสต์ได้เนื่องจากตัวอ่อนไม่แข็งแรง นอกจากนี้บางครั้งผลโครโมโซม อาจไม่ได้ด้วยกันกับเกรดของตัวอ่อน ทำให้ต้องย้ายตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติแต่เกรดไม่ดีส่งผลให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนถือเป็นการตรวจพิเศษ ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วตามปกติ

พญ.พัชรินทร์ เกียรติสารพิภพ

สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้