ทำไม เราถึงควรตรวจสุขภาพ?

ทำไม...เราถึงควรตรวจสุขภาพ ?

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพ
       การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย ถือว่าเป็นการตรวจป้องกันโรค การเจ็บป่วย หรือแม้ในกรณีของคนที่เกิดอาการเจ็บป่วยแล้ว การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ โดยปกติแล้วร่างกายของคนปกติ หรือในคนที่โรคประจำตัว หรืออาการเจ็บป่วย โรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นแทรกซ้อน ไม่ได้เกิดขึ้นภายในวัน สองวัน โดยโรคอันตรายส่วนใหญ่ที่เรารู้จัก เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ มักจะใช้เวลาหลักเดือน และหลักปี ซึ่งระหว่างนี้ ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลต่ออวัยวะภายในร่างกายได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพ จะช่วยให้เรารับมือและป้องกันความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ได้

การตรวจสุขภาพ แบ่งกลุ่มช่วงอายุอย่างไร ?

      ช่วงวัยที่สำคัญสำหรับการตรวจสุขภาพ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง หลักๆ

1.อายุน้อยกว่า 15 ปี  จะเป็นการตรวจสุขภาพตามอายุ โดยกุมารแพทย์เป็นผู้กำหนดรายการตรวจสุขภาพ รวมถึงการฉีดวัคซีนตามอายุ

2.ช่วงวัยผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่...

  • อายุน้อยกว่า 35 ปี ในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงสะสมโรค เพราะ ช่วงนี้ร่างกายคนเรามักแข็งแรง และมักละเลยการดูแลสุขภาพ มีการใช้ร่างกายงานหนัก
  • ช่วงอายุ 35 -50 เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง และการแสดงออกของโรคให้เห็น
  • ช่วงอายุมากกว่า 50 ปี ร่างกายมีความเสี่ยงมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงมากขึ้นกว่าเดิม

การตรวจสุขภาพของแต่ละช่วงวัย ตรวจอะไรบ้าง ?

  • การตรวจสุขภาพในช่วงวัยเด็ก อายุน้อยกว่า 15 ปี

ป็นการตรวจสุขภาพในวัยเด็ก โดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจด้านเรื่องพัฒนาการเด็ก การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย และวัคซีนตามอายุ

  • การตรวจสุขภาพในช่วงวัย 15 - 35 ปี

การตรวจสุขภาพในช่วงวัยนี้ จะตรวจระบบการทำงานพื้นฐานของร่างกาย ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของปอด การทำงานของตับ ไต ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด การตรวจปัสสาวะ เพื่อค้นหาโอกาส ในการเกิดความเสี่ยงโรคเรื้อรังในอนาคต เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น  

  • การตรวจสุขภาพในช่วงวัย 35 – 50 ปี

 การตรวจสุขภาพในช่วงนี้ยังมีการตรวจระบบการทำงานของร่างกายขั้นพื้นฐาน แต่จะมีการตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น และการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อตรวจภาวะไขมันพอกตับ นิ่ว เนื้องอก เป็นต้น รวมถึงการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

  • การตรวจสุขภาพช่วงอายุ 50 ปี ขึ้นไป

การตรวจสุขภาพในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี การจะตรวจครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย แต่จะเพิ่มการคัดกรองมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ ช่องท้อง โดยผู้ชายจะตรวจต่อมลูกหมาก และในผู้หญิงเต้านม และรังไข่ รวมถึงจะมีการตรวจหาความเสื่อมด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ เพื่อหาภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน การตรวจหาความเสื่อมของฮอร์โมน ในผู้ที่มีอาการ หรือภาวะวัยทอง จะมีการตรวจฮอร์โมนจะมีความสำคัญมากในผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีการลดระดับของฮอร์โมนเร็วกว่าผู้ชาย โดยจะมีผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบเผาผลาญ รวมถึงผลทางอารมณ์ สมาธิ และจิตใจ

บทความโดย
นพ.กันตพงศ์ รุ้งวราห์รัตน์

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้