การรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ เรื่องที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรรู้
บอลลูนหัวใจ คืออะไร
คือ การขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น โดยการนำอุปกรณ์ที่คล้ายกับบอลลูน เข้าไปในหลอดเลือดเพื่อดันไขมันในหลอดเลือดไปติดผนังเซลล์หลอดเลือด ซึ่งการผ่าตัดทำบอลลูนหัวใจ ใช้เวลาไม่นาน และแผลเล็ก ปลอดภัยต่อร่างกายของผู้ป่วย
ขั้นตอนการทำบอลลูนหัวใจ
- ผู้ป่วยงดอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนรักษา
- ฉีดยาชาบริเวณ ขาหนีบ ข้อมือ หรือข้อพับก่อนทำการรักษา
- สอดท่อสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋ว สอดเข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจตรงบริเวณที่ตีบ หรืออุดตัน
- เมื่อสายสวนเข้าไปถึงจุดหมายที่ที่บริเวณหลอดเลือดตีบ จึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลง และขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงทำให้บอลลูนแฟบเหมือนเดิม แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย
- บางกรณีแพทย์จะใส่ขดลวดเข้าไปด้วย เพื่อช่วยลดโอกาสที่หลอดเลือดจะตีบใหม่
การดูแลตนเองหลังการทำบอลลูนหัวใจ
- ทานยาต้านเกล็ดเลือด ตามคำสั่งแพทย์อย่างมีวินัย
- ช่วง 1 สัปดาห์แรก ไม่ควรขับรถเอง และไม่ควรยกของหนัก
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- มาพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อเฝ้าดูอาการ และติดตามผลการรักษา
- ควบคุมความเครียดไม่ให้มากจนเกินไป ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
- บริเวณที่ทำบอลลูนมีโอกาสตีบซ้ำขึ้นกับการรับประทานยา และการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยหากมีการตีบซ้ำ สามารถมาทำบอลลูนซ้ำได้ ตามคำแนะนำแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อดีของการทำบอลลูนหัวใจ
- ไม่ต้องทำการผ่าตัด
- ระยะเวลาการรักษารวดเร็ว
- ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทำการทำบายพาส
- ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าและมีผลค้างเคียงน้อย
บทความโดย
นพ.วัชรินทร์ ประเสริฐสุด