ปวดท้องผิดปกติ อย่าชะล่าใจ! พบแพทย์ตรวจทางเดินอาหารและตับต้องตรวจอะไรบ้าง?

ปวดท้องผิดปกติ อย่าชะล่าใจ! พบแพทย์ตรวจทางเดินอาหารและตับ

บทความนี้ นพ.นัทธ์ชนัน ปรีชากวิน แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ จะมาตอบคำถามที่หลายๆคนอยากรู้ ในหัวข้อดังต่อไปนี้

  • ตรวจทางเดินอาหารและตับตรวจอะไรบ้าง
  • ทําไมต้องตรวจทางเดินอาหารและตับ?
  • ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงควรตรวจ?
  • มีวิธีตรวจอย่างไรบ้าง? และแต่ละวิธีมีข้อดีอย่างไร

ตรวจทางเดินอาหารและตับ ตรวจอะไรบ้าง?

หลักการตรวจทางเดินอาหารและตับ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1.ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper)

  • หลอดอาหาร
  • กระเพาะอาหาร
  • ลําไส้เล็กส่วนต้น

ควรตรวจตอนไหน? เมื่อเกิดอาการ กลืนลำบาก ปวดท้อง มีเลือดออกในช่องท้อง เนื้องอก และแผลในกระเพาะอาหาร

2.ระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย

  • ลำไส้ส่วนปลาย

ควรตรวจตอนไหน? ขับถ่ายผิดปกติ มีอาการปวดท้องร่วมกับมีก้อนเนื้อในท้อง น้ำหนักลดลงผิดปกติ อ่อนเพลีย และมีอาการโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ

3.ตรวจตับอ่อนและท่อทางเดินน้ำดี

  • โครงสร้างของตับ
  • การทํางานของตับ
  • ถุงน้ำดีและท่อน้ำดี

ควรตรวจตอนไหน? เกิดภาวะดีซ่านนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี มีเนื้องอกท่อทางเดินน้ำดี ท่อทางเดินน้ำดี หรือตับอ่อนอุดตัน หรือตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในท่อทางเดิน

ทําไมต้องตรวจทางเดินอาหารและตับ?

เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งตับ และท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทยเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้นเราจึงแนะนําให้ทําการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เนื่องจากในระยะเริ่มต้นเราสามารถรักษาให้หาย และได้ผลดีในการรักษา ดังนั้นจึงแนะนําตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่มีความเสี่ยง

ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงควรตรวจ?

  • กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ได้แก่
    • อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
    • อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่มีญาติสายตรงที่มีประวัติเกี่ยวกับมะเร็งทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร หรือลําไส้ใหญ่ ควรแนะนําตรวจเพิ่มเติม
  • กลุ่มคนที่มีอาการ โดยมีอาการดังนี้
    • ปวดท้องรุนแรงไม่ทราบสาเหตุ
    • มีอาการถ่ายยาก ถ่ายลําบาก
    • น้ำหนักลดลงผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • มีอาการถ่ายเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ซึ่งลักษณะพวกนี้เป็นอาการเริ่มต้น หรืออาการแสดงของภาวะพวกมะเร็งที่มาให้เห็นได้ร่วมกัน

มีวิธีตรวจอย่างไรบ้าง? และแต่ละวิธีมีข้อดีอย่างไร

สําหรับการตรวจทางเดินอาหาร แนะนําว่าวิธีที่แม่นยําและได้ผลชัดเจนมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจได้เพิ่มเติม คือการ ส่องกล้อง ไม่ว่าจะเป็นการส่องกล้องกระเพาะอาหาร กับลําไส้เล็กและลําไส้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่คนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง ในการส่องกล้องหรือการดมยา เราอาจจะปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนว่า

มีวิธีการตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นที่ไม่รุนแรง เช่น การส่องกล้องร่วมด้วยหรือไม่ เช่น การตรวจเลือด การเก็บอุจจาระ หรือการตรวจภาพรังสี เป็นต้น

ข้อดีของการส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

ข้อดีของการส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

  • ได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยํา
  • ในกรณีที่เราตรวจพบพยาธิสภาพ แพทย์สามารถตรวจพยาธิสภาพนี้ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ไม่ว่าจะ
    • เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
    • ในกรณีพบติ่งเนื้อ เราสามารถยืนยันว่าเป็นติ่งเนื้อดี หรือเป็นติ่งเนื้อที่ก่อให้เกิดมะเร็งในอนาคตข้างหน้าหรือไม่ และสามารถทําการตัด หรือการรักษาได้ตั้งแต่การส่องกล้อง
  • ไม่มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องใดๆ ดังนั้นคนไข้จะไม่เกิดความเจ็บปวด
  • ไม่จําเป็นต้องพักฟื้นใดๆทั้งสิ้น

"โรคระบบทางเดินอาหาร ถึงแม้จะเป็นโรคที่พบบ่อยและอาการไม่รุนแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะก่อให้เกิดภาวะที่รุนแรงในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นนอกจากการดูแลตัวเองไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่สุกสะอาดหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแล้ว การตรวจหมั่นคัดกรองเพื่อประเมินในกรณีที่มีความเสี่ยงนั้นจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและผลการรักษาออกมาค่อนข้างดีนะครับ"

นพ.นัทธ์ชนัน ปรีชากวิน แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ

นพ.นัทธ์ชนัน ปรีชากวิน

แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ

_______________________________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ

อ่านบทความ

วิดีโอ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้