ปวดแบบไหน..? สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดหลังหรือปวดสะโพกที่ร้าวลงขาเป็นอาการที่หลายคนพบเจอ และมักมาพร้อมกับความกังวลว่าอาการเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับ "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" ซึ่งเป็นภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวดหรือชาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ปวดแบบไหน..? สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. ปวดลงขา หรือว่าปวดร้าวลงแขน ซึ่งการที่มันปวดลงแขนหรือปวดลงขา แปลว่าหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมา มีการไปเบียดทับเส้นประสาทแล้ว
  2. ปวดเรื้อรัง โดยปกติคนเราสามารถจะมีอาการปวดหลังหรือปวดคอได้ในชีวิตเป็นได้ทุกคนเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ปวดต่อเนื่อง ตัวเลขที่แนะนําก็คือประมาณ 2 เดือน แล้วยังปวดอยู่เรื่อยๆ ปวดไม่หายหลังจากทานยาแล้วหรือว่าทํากายภาพ อาจจะไม่ใช่แค่กล้ามเนื้อแล้วก็ได้ วิธีการที่จะทําให้ทราบว่าเป็นหมอนรองกระดูกคลื่นจริงหรือเปล่าก็คือต้องตรวจด้วยวิธี MRI
  3. หนักขา ชาที่ขา แต่บางครั้งคนไข้ก็จะมีอาการหนักขา หรือชาขามักจะเป็นในกิจกรรมที่มีการใช้ขาเยอะๆ อย่างเช่นเมื่อเดินไปแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มมีความรู้สึกว่าขาหนักขึ้นเรื่อยๆ เดินต่อไม่ไหว มีอาการชาร่วมด้วย บางครั้งอาจจะมีอาการปวดแล้วก็ร้าวไปตามแนวขาร่วมด้วย

สิ่งเหล่านี้อาจจะมีหมอนรองกระดูกเรื่องในการไปทับเส้นประสาท ถ้ามีอาการข้างต้นแนะนําว่าควรจะพบแพทย์ แล้วก็เพื่อทําการวินิจฉัยที่ถูกต้อง พอการวินิจฉัยเริ่มต้นถูกต้องการรักษาก็จะถูกต้องตามไป

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักเกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามอายุ หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงได้แก่:

  • อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพและเกิดการเคลื่อน
  • กิจกรรมที่ใช้หลังมาก: ยกของหนักหรืองานที่ต้องใช้หลังมากเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้น
  • น้ำหนักตัวเกิน: น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มแรงกดบนหมอนรองกระดูก

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การดูแลตัวเองและการป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาททำได้โดย:

  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหา
  • การยกของหนักอย่างถูกวิธี: ใช้ขาในการยกของแทนการก้มหลัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกสันหลัง
  • การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน: ลดแรงกดที่เกิดขึ้นบนกระดูกสันหลัง

หากคุณมีอาการปวดหลังหรือปวดร้าวลงขา ควรสังเกตอาการและปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม การรู้เท่าทันและดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในอนาคต

________________________________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ

นพ.ณฐพล ลิตติรานนท์

ศัลแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้