โดย นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
เนื่องจากอาการของ Long covid-19 เป็นโรคที่เกิดตามหลังจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในช่วงปลายปี 2019 พบว่ารายงานช่วงแรก ๆ มักเกิดในผู้ใหญ่ ซึ่งมีอาการความรุนแรงของการติดเชื้อโควิดในช่วงเฉียบพลันมากกว่าในเด็ก และต่อมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 พบว่าเด็กมีการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น ทำให้เราเริ่มพบปัญหาของลองโควิดในเด็กมากขึ้น และเป็นเหตุทำให้เด็กบางคนมีอาการต่อเนื่องยาวนานกว่าคนอื่น...
LONG COVID (ลองโควิด) ในเด็ก คืออะไร ?
คือ อาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากหลังการติดเชื้อโควิดนาน 4-8 สัปดาห์ ไปจนถึงหลัง 3 เดือน ปกติในเด็กที่ติดเชื้อโควิดจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยกว่าในผู้ใหญ่ แต่บางรายก็รุนแรงมากจนต้องนอนในห้องผู้ป่วยเด็กวิกฤตหรือเสียชีวิตได้
อัตราการเกิดลองโควิดในเด็ก และผู้ใหญ่ต่างกันอย่างไร ?
อัตราการเกิดลองโควิดในผู้ใหญ่อาจสูงถึง 25-30% หลังการติดเชื้อโควิด และในเด็กพบได้น้อยกว่า รายงานจากในประเทศสหราชอาณาจักร พบภาวะลองโควิดในเด็กน่าจะอยู่ที่ 7-8% หลังการติดเชื้อโควิดในเด็ก เด็กโตจะพบได้มากกว่าเด็กเล็ก กลุ่มเสี่ยงอื่นที่จะเกิดลองโควิดได้แก่ เพศหญิง มีโรคภูมิแพ้ หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้วและกลุ่มที่มีความรุนแรงสูงตั้งแต่ช่วงแรกที่ติดเชื้อ
อาการลองโควิดที่สำคัญในเด็ก
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. อาการที่แสดงออกทางร่างกาย
ลองโควิดในเด็ก พบว่ามีอาการแสดงได้แตกต่างกันในหลายระบบของร่างกาย ที่พบบ่อยได้แก่...
2. อาการที่แสดงออกทางด้านระบบประสาท
จะเห็นได้ว่า อาการทางร่างกายหลายๆ อย่างมักชัดเจนบอกได้ไม่ยาก แต่บางอาการโดยเฉพาะอาการทางด้านระบบประสาท และจิตใจเป็นอาการที่ซ่อนเร้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ควรหมั่นสังเกตบุตรหลาน นักเรียนโดยเฉพาะเด็กเล็ก เด็กวัยเรียนที่ยังสื่อสารออกมาไม่ได้หรือไม่ดีพอ ที่พบว่ามีผลการเรียนตก หรือพฤติกรรมเปลี่ยนไป เป็นต้น จุดเริ่มต้นของการดูแลเด็กลองโควิด คือ ต้องเริ่มจากการสงสัยของผู้ใกล้ชิดกับเด็กแล้วนำเข้าสู่กระบวนการค้นหา และรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาผ่านคลินิกพัฒนาการเด็ก หรือจิตเวชเด็ก อื่นๆอีกต่อไป
การรักษา LONG COVID (ลองโควิด) ในเด็ก
เนื่องจากอาการแสดงออกมา อาจมีใกล้เคียงกับโรคอื่นจึงจำเป็นต้องทำการค้นหาสาเหตุอื่น ที่จะสามารถอธิบายอาการของโรคคล้ายคลึงกันได้ และอาการของลองโควิดแต่ละรายก็มาด้วยอาการที่หลากหลายแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
ขั้นตอนการรักษาคงมุ่งเน้นไปที่ผลของการตรวจพบความผิดปกติ รวมทั้งกลไกที่คาดว่าจะทำให้เกิดโรคลองโควิดนั้นซึ่งมีสมมติฐานอยู่หลายอย่าง เช่น การอักเสบที่ยังหลงเหลือของเชื้อโควิด ภูมิแพ้ตนเอง การอักเสบของหลอดเลือด และผลจากการเกิดลิ่มเลือด การรักษาในแต่ละรายจึงอาจต่างกันมาก เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ ความรู้ในโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาและค้นคว้าต่อไป
บทความโดย นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
สนใจสอบถามหรือปรึกษาแพทย์ สามารถติดต่อได้ที่...
เบอร์โทร : 02-998-9888 ต่อ 3101 , 3102 (คลินิกกุมารเวชกรรม)
02-998-9888 ต่อ 3216 , 3217 (คลินิกพัฒนาการเด็ก)
ช่องทางอื่นๆ
Facebook : PatRangsit Hosptal
INBOX : https://bit.ly/2xNaFc1
LINE : https://bit.ly/33p9nzw
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน