มะเร็งปอด สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2

มะเร็งเป็นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับ และเป็นอันดับที่ 1 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะสังเกตอาการได้ตอนที่เป็นค่อนข้างมากหรือระยะรุกรามแล้ว จึงทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันมะเร็งปอดสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการเอกเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เรียกวิธีคัดกรองนี้ว่า Low dose CT chest screening

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปอด ?

  • สูบบุหรี่เป็นประจำในช่วงอายุ 50-80ปี
  • มีประวัติสูบบุหรี่เป็นประจำ เลิกมาไม่ถึง 15ปี
  • คนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งปอด
  • ทำงานหรืออาศัยในบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น เรย์ดอน แร่ใยหิน เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะหรือไม่มีก็ได้
  • ไอเป็นเลือด
  • เหนื่อย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • อาการจากการกดเบียดของมะเร็ง เช่น เสียงแหบ กลืนลำบาก
  • อาการจากการแพร่กระจายของมะเร็งเช่น ปวดกระดูก อัมพาต

อาการเหล่านี้อาจจะไม่พบเลยในคนไข้มะเร็งปอดหรืออาจจะพบในโรคอื่น จึงจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้

การที่เราสามารถตรวจพบมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะช่วยให้มีโอกาสหายขาดหลังจากรักการรักษาได้ตั้งแต่ 68-92% ขึ้นกับระยะที่ตรวจพบ การรักษามะเร็งปอดสามารถแบ่งได้หลายวิธี เช่น...

  1. การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักในมะเร็งปอด ใช้รักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย หรือการรุกรามให้สามารถหายขาดได้ โดยการผ่าตัดมะเร็งปอดจะเป็นการตัดปอดที่มีมะเร็งออก โดยสามารถทำการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องได้เป็นส่วนใหญ่ในระยะแรก การผ่าตัดส่องกล้องมีอยู่หลายเทคนิค ตั้งแต่ 3แผล ลดลงจนถึง แผลเดียว ที่เรียกว่า uniportal VATS วิธีนี้จะเปิดทรวงอกเป็นแผลประมาณ 2.5-4cm ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว เสียเลือดน้อย กลับไปทำงานได้เร็วว่าจากผ่าตัดแบบเปิด
  2. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด วิธีนี้จะใช้กรณีที่เลยระยะแรกไปแล้ว สามารถใช้กรณีเคสที่น่าจะผ่าตัดได้ โดยให้ยาเคมีบำบัดเพื่อลดขนาดก่อน แล้วจึงผ่าตัด หรือกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้โดยให้ยาเคมีบำบัดเพื่อควบคุมตัวโรค
  3. การฉายรังสีใช้มะเร็งระยะแรกในผู้ป่วยที่ไม่พร้อมที่จะผ่าตัด หรือใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยมุ่งหวังการรักษาแบบประคับประคอง
  4. ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นการให้ยาที่จำเพาะกับเซลล์มะเร็ง ต้องมีการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนก่อนที่จะรักษา ถ้าผิดปกติสามารถใช้ยากลุ่มนี้ช่วยได้ โดยประสิทธิภาพดีกว่ายาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกัน โดยเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปทำลายเซลล์มะเร็ง

หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องทำอย่างไร ?

  1. หยุดบุหรี่หรือสารก่อมะเร็งต่างๆ
  2. Low dose CT chest เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น
  3. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  4. ดูแลร่างกายทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

บทความโดย
นพ.คุณัช สถาผลเดชา
(แพทย์ศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจ)

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้