APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ไขข้อสงสัย การตรวจมะเร็งเต้านม

ไขข้อสงสัย การตรวจมะเร็งเต้านม
ตรวจก่อน รู้ทัน

รวมคำถามยอดฮิต ก่อนการตรวจมะเร็งเต้านม

          ไม่ว่าเราจะรักใครมากแค่ไหน การรักตัวเองเป็นสิ่งที่มีค่าที่ไม่ควระลทิ้ง และสำหรับผู้หญิงทุกคน การรักตัวเองก็ควรต้องใส่ใจที่จะดูแลตัวเองให้แข็งแรงเพื่อจะได้มีพลังอยู่กับคนที่เรารักนานๆ และเมื่อเอ่ยถึงภัยร้ายใกล้ตัวผู้หญิงในปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมก็คงเป็นโรคที่พบมากที่สุดของผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคนิ้กว่า 20,000 คน ซึ่งสถิติที่น่ากลัวมาก และวิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม เพราะการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีเกือบ 100% แต่ถ้าพบในระยะสุดท้ายของโรคโอกาสเสียชีวิตจะมาก โดยวันนี้หมอขอนำคำถามยอดฮิตมาตอบให้ทุกคนทราบ

คำถามพบบ่อยที่ 1 : หลายคนสงสัย คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร ?

คำตอบ : คือ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ ด้วยการตรวจเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์

คำถามพบบ่อยที่ 2 : ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมบ้าง ?

คำตอบ : ผู้หญิงอายุ 20 – 40 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ และผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี ตรวจแมมโมแกรมปีละหนึ่งครั้ง ยกเว้นผู้ที่มีแม่บุตรสาว พี่น้องเป็นมะเร็งเต้านมควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 40 ปี

คำถามพบบ่อยที่ 3 : ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร?

คำตอบ : เพื่อโอกาสในการพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม

คำถามพบบ่อยที่ 4 : ขณะมีประจำเดือนตรวจได้หรือไม่

คำตอบ : ควรมาตรวจหลังจากมีประจำเดือน แล้ว 7 วัน เพราะเนื่องจากขณะมีประจำเดือน เต้านมจะมีอาการคัด ทำให่เวลาตรวจจะมีอาการเจ็บและแปลผลได้ยากกว่า และไม่ควรทาแป้งหรือสารระงับกลิ่น บริเวณรักแร่หรือเต้านมขณะมารับการตรวจ เนื่องจากจะทำให้การแปลผลผิดพลาดได้ 

คำถามที่พบบ่อยที่ 5 : ต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจหรือไม่

คำตอบ : ไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจ

คำถามที่พบบ่อยที่ 6 : ถ้าผลผิดปกติควรทำอย่างไร?

คำตอบ : ไม่ควรตกใจ เนื่องจากไม่ใช่มะเร็งทุกคน ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ เพื่อยืนยันอีกครั้ง ถ้าแพทย์สงสัยจะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

คำถามที่พบบ่อยที่ 7 : การตรวจแมมโมแกรมบ่อยๆ ทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่

คำตอบ : ยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งมากขึ้น เนื่องจากปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมากๆ

คำถามที่พบบ่อยที่ 8 : การตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียงพอหรือไม่

คำตอบ : ยังไม่แนะนำให้ตรวจมะเร็งเต้านมตัวเองเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะทำให้พบมะเร็งเต้านมล่าช้า กว่าการตรวจแมมโมแกรม และทำให้การรักษาล่าช้า จนผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้

          มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงอับดับต้นๆ แต่ถ้าพบได้ในระยะแรกของโรค โอกาสรอดชีวิตจะมีเกือบ 100% ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีประโยชน์มาก ถ้าอยากจะอยู่กับคนที่เรารักนานๆ การดูแลสุขภาพตัวเองก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หมั่นดูแลตัวเองและสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ “เพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก”

บทความโดย
 พญ.สุนิสา ชัยประเสริฐ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้