ลูก “โตช้า ” กว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
“เพราะปัญหาของลูก ก็คือปัญหาของเรา” หากลูกของเรามีแนวโน้มที่ร่างกายที่เติบโตช้า ตัวไม่สูง หรือตัวเล็กกว่า เมื่อเปรียบเทียบ กับเพื่อนวัยเดียวกัน พ่อแม่หลายท่านก็คงจะอดไม่ได้ที่จะวิตกกังวล กลัวว่าลูกจะไม่สูงตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือสูญเสียความมั่นใจ
“ภาวะเด็กเตี้ย” เป็นหนึ่งในภาวะที่เกิดจากพัฒนาการด้านร่างกายเด็กเติบโตไม่สมวัย โดยหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ หรือในช่วงอายุเดียวกัน มีภาวะทางสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อความสูง
ภาวะเด็กตัวเตี้ย
หมายถึง เด็กที่มีความสูงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่เชื้อชาติ เพศและอายุเดียวกันมากกว่า 2 ค่าเบี่ยงมาตรฐาน (Standard deviation; SD) ซึ่งสามารถทราบได้โดย ดูจากกราฟแสดงการเติบโต (growth chart)
แล้วสาเหตุของเด็กโตช้า หรือ ตัวเตี้ย เกิดจากอะไร?
สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
- กรรมพันธุ์ ส่วนสูงของพ่อแม่มีส่วนสำคัญต่อความสูงของเด็ก เมื่อโตขึ้นสู่วัยผู้ใหญ่
- ภาวะโภชนาการ เด็กที่ขาดสารอาหารจะเติบโตได้ไม่เต็มที่
- ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินประสาท โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น
- ขาดฮอร์โมนเช่น ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
ฮอร์โมนเติบโต คืออะไร
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone: GH) ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองและส่งเข้าสู่กระแสเลือด มีหน้าที่สำคัญในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อความสูงและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
ทำความรู้จักกับ " ภาวะตัวเตี้ย "
ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant) แบ่งออกเป็น 2 ภาวะ
- ภาวะตัวเตี้ยจากกรรมพันธุ์ (familial short stature)
- เกิดจากที่คุณพ่อคุณแม่ตัวเล็ก จึงมีผลต่อความสูงของเด็ก
- เด็กจะมีอัตราการเพิ่มความสูงต่อปีที่ปกติ แต่จะตัวเล็กว่าเด็กวัยเดียวกัน
- ภาวะโตช้า แบบม้าตีนปลาย (Constitutional delayed growth and puberty)
- ตัวเล็กร่วมกับ เช้าสู่ช่วงวัยรุ่น ช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
- เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่จะมีความสูงที่ปกติตามศักยภาพ
- คุณพ่อคุณแม่อาจมีประวัติเข้าสู่วัยรุ่นช้า เช่นเดียวกัน
ภาวะตัวเตี้ยที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน
- ร่ายกายขาดฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ได้แก่ ฮอร์โมนเติบโต ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ หากร่างกายมีความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนข้างต้น ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้
ภาวะตัวเตี้ยจากการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต
- มีส่วนสูงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กวัยเดียวกัน
- อัตราการเพิ่มความสูงต่อปี น้อยกว่า 4 ซม./ปี
ผู้ปกครองควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ หากเด็กขาดฮอร์โมนเติบโต อาจนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่อาจซ่อนเร้นอยู่ได้
อาการบ่งชี้ว่ามี “ภาวะตัวเตี้ย” โตช้ากว่าเกณฑ์ สังเกตได้จาก
- ลูกดูตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกัน เมื่ออายุเท่าๆกัน
- ตัวเล็กกว่าเพื่อนวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด
- มีอัตราการเจริญเติบโตช้า หรือลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟเจริญ
- ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุ
รู้ได้อย่างไรว่า เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายไม่สมวัย?
ทราบได้จากการวินิฉัยจากกุมารแพทย์ จะประเมินจากอัตราการเจริญเติบโต และเปรียบเทียบการเจริญเติบโต
- การซักประวัติครอบครัวและเด็ก ได้แก่
- ประวัติการตั้งครรภ์ของมารดา น้ำหนัก และความยาวแรกเกิด
- การเจ็บป่วยของเด็ก โรคประจำตัวการรับประทานอาหารพัฒนาการของเด็ก
- ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของครอบครัวสายตรง
- การตรวจร่างกาย ได้แก่
- ชั่งน้ำหนัก
- วัดส่วนสูงในเด็ก และบันทึกในกราฟเพื่อดูรูปแบบการเจริญเติบโตของเด็ก
- การตรวจอายุกระดูก โดยการเอกซเรย์ (X-Ray) ผ่ามือ และข้อมือ ข้างที่ไม่ถนัดเพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก
- การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การทดสอบทางด้านฮอร์โมน การตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน ในเด็กที่สงสัยว่ามีความผิดปกติในฮอร์โมน
- ในบางรายอาจตรวจ MRI สมอง เพื่อหาสาตุของโรคเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็ว
- อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง
การรักษาเด็กที่มี “ภาวะตัวเตี้ย”
- หากเกิดจากโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว ให้รักษาอาการและควบคุมโรคให้คงที่
- ในกรณีที่มีฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ สามารถรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน หรือยับยั้ง เช่น ให้ยาเจริญเติบโต (Growth hormone) การให้ไทรอยด์ฮอร์โมน
- การรับประทานอาหารให้ครบถ้วน 5 หมู่ หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน
- การปรับพฤติกรรมการบริโภค
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบหัวใจและหลอดเลือด
- การรับประทานนมในปริมานที่เหมาะสม อาจเสริมวิตามินบางชนิด โดยควรรับคำแนะนำจากแพทย์
- การนอนหลับอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมให้ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่
พ่อแม่ท่านไหนที่กำลังเป็นกังวล ว่าลูกเราอาจเติบโตช้า หรือมีภาวะตัวเตี้ย เบื้องต้นอย่าได้วิตกกังวลใจ สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการประเมินเบื้องต้น และหากพบว่ามีภาวะตัวเตี้ย จะได้สามารถรักษาอย่างทันท่วงทีในขั้นตอนต่อไป
รับชมวิดีโอ
พ.ญ.อัมพาพรรณ์ นรสุนทร
(กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม)