วิธีเคาะปอดเด็ก เพื่อระบายเสมหะ สำหรับเด็กเล็ก และเด็ก

ช่วงนี้ ฝุ่น PM 2.5 เริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อากาศก็เปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งจะส่งผลกับลูกน้อยของเราอย่างแน่นอน โดยมักพบว่าจะมีอาการป่วย มีไข้ ไอมีเสมหะ และการมีเสมหะนั่นเอง ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราก็จะมาสอนๆ พ่อๆแม่ๆ ทุกท่านในเรื่องของการเคาะปอดเพื่อร่อนระบายเสมหะ ง่าย ๆ ที่สามารถทําตามได้ที่บ้าน

สาเหตุของการเกิดเสมหะ เกิดจากเยื่อบุปอดของเรามีการอักเสบร่างกายเราก็จะมีการหลั่งสารคัดหลั่ง ซึ่งเรียกว่าเสมหะหรือน้ํามูกออกมา ดังนั้นเด็กน้อยจะไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ เสมหะก็จะคั่งค้างอยู่ในปอดเยอะ จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ปกครองต้องช่วยร่อนระบายเอาเสมหะตรงนั้นออกมาผ่านวิธีการเคาะปอดที่ถูกต้อง

การเตรียมตัวลูกน้อย ก่อนการเคาะปอด มีอะไรบ้าง ?

  • ควรงดอาหาร งดนม ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงก่อนเคาะปอด เพื่อป้องกันการสําลักในขณะเคาะปอด
  • อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเคาะปอดนะครับ จะมีผ้าขนหนู เพื่อห่อตัวน้องกันน้องดิ้น

วิธีการเคาะปอด สำหรับเด็กเล็ก หรืออายุต่ำกว่า 1 ปี

  1. ควรประเมินเบื้องต้น ว่าเด็กมีเสมหะอยู่บริเวณส่วนไหน ซึ่งวิธีการประเมิน ก็คือ ใช้มือคลําไปบริเวณทรวงอกของเด็ก เวลาที่มีเสมหะ มักจะมีเสียงครืดสะเทือนมาถึงบริเวณฝ่ามือของเรา แสดงว่าบริเวณนั้นมีเสมหะอยู่

2. จับน้องนอนหงาย และเคาะโดยใช้ฝ่ามือ โดยใช้อุ้งมือ เคาะไปยังบริเวณทรวงอกของเด็ก บริเวณที่จะเคาะ ก็คือบริเวณใต้ต่อกระดูกไหปลาร้าลงมาถึงบริเวณชายโครง ให้เคาะโดยใช้วิธีสะบัดข้อมือ ไม่เกร็งมือ เพราะถ้าเราเกร็งมือมันจะเป็นการตีแล้วเด็กอาจจะเกิดการเจ็บได้ ทั้งนี้ให้เคาะไปให้ทั่วทั้งสองข้างซ้ายขวา

คำแนะนำ : ใช้เวลาเคาะแต่ละท่า ประมาณ 3 – 5 นาที

วิธีเคาะปอด สำหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป

  1. สำหรับเด็กเล็ก 1 ขวบขึ้นไป สามารถให้นอนคว่ําได้ และเคาะในท่านี้ แต่ถ้าเด็กเล็ก กรณีทำท่าข้างบนแล้วไม่ดีขึ้น สามารถเป็นวิธีการอุ้มพาดบ่าแล้วเคาะได้

คำแนะนำ : ใช้เวลาเคาะแต่ละท่า ประมาณ 3 – 5 นาที

สามารถรับชมคลิปเต็ม เพื่อดูวิธีการเคาะปอดที่ถูกต้องได้ที่ :

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้