ในเด็กที่รักษาอาการหวัดแล้ว ยังมีอาการนอนกรนไม่หาย อ้าปากหายใจ หายใจไม่สะดวก ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป
วิธีการรักษาเรื่องของต่อมอะดีนอยด์อักเสบ หรือต่อมอะดีนอยด์โตเรื้อรัง มี 2 วิธี
1) การใช้ยา
การรักษาโดยการใช้ยา เพื่อทำให้ต่อมอะดีนอยด์ฝ่อตัวลง รวมทั้งการหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อ โดยการใช้ยาจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ชนิดยาพ่น และชนิดยาสำหรับรับประทาน
ใช้เวลานานเท่าไหร่ : ใช้เวลาประมาณ 40 วัน
ถ้าหากรักษาโดยการใช้ยาแล้ว ต่อมอะดีนอยด์ยังไม่ฝ่อ ยังไม่ยุบ มีการนอนกรนมากๆ หรือมีการติดเชื้อในหูชั้นกลางบ่อยๆ หรือมีไซนัสอักเสบบ่อยๆ อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย
2) การผ่าตัด
การผ่าตัดการรักษาต่อมอะดินอยด์โต และต่อมทอนซิลโต จะพิจารณาว่าควรเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ ด้วย 2 ข้อบ่งชี้ ดังนี้
ต่อมอะดีนอยด์มีการอักเสบบ่อยๆ ถ้าต่อมอะดีนอยด์มีขนาดโตมาก อาจจะทําให้เป็นแหล่งที่สะสมเชื้อโรค แทนที่จะเป็นแหล่งกําจัดเชื้อโรค เชื้อโรคก็ไม่สามารถระบายออกทางจมูกได้หมด ก็จะทําให้มีเชื้อโรคคั่งอยู่ เกิดเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือมีหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง หรือทําให้เกิดมีน้ำคั่งในหูชั้นกลาง
นอกจากวิธีการรักษาโดยแพทย์แล้ว การดูแลรักษาเรื่องต่อมทอนซิลกับอะดีนอยด์ด้วยตัวเอง ก็สามารถทำได้โดยรับประทานอาหารที่มีปรโยชน์ เพื่อเสริมภูมิต้านทานป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อบ่อย โดยเฉพาะอากาศ สิ่งแวดล้อมสําคัญ เรื่องของอากาศที่ไม่ถ่ายเท อาหารที่อาจจะเจือปนมาด้วยเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้จะทําให้ต่อมอะดีนอยด์กับต่อมทอนซิลทํางานหนักขึ้น หรือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสําคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน การล้างจมูกหลังกลับมาจากโรงเรียน สิ่งนี้ก็มีส่วนช่วยได้ระดับหนึ่งเช่นกัน
_________________________________________________________________________________________________________
รับชมวิดีโอ
นพ.ดารงณ์ จีรปัญญากูล
แพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน