APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

เข่าเสื่อม ปวดเข่า รักษาได้ ไม่ต้องผ่าตัดด้วยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP (Platelet Rich Plasma)

การฉีด PRP คืออะไร?

PRP (Platelet Rich Plasma) Therapy เป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการบาดเจ็บของของระบบโครงสร้างของมนุษย์ (Musculoskeletal System) เช่น กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก เป็นการนำเลือดของตัวเองมาใช้ในการรักษาและซ่อมแซม โดยใช้คุณสมบัติของ 'Platelet and Growth factor' ที่มีอยู่ในส่วนประกอบของเลือดที่เรียกว่า Plasma ซึ่งทำหน้าที่ช่วยเร่งกระบวนการรักษา

อาการที่สามารถรักษาได้ด้วย PRP

  • โรคข้อเข่าเสื่อมรยะแรก
  • เอ็นอักเสบ
  • รองช้ำ
  • เอ็นไหล่ฉีกขาด
  • เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าบาดเจ็บ
  • ปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก
  • เคล็ดขัดยอกข้อเท้า
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณกล้ามเนื้อพังผืด
  • อาการเคล็ดขัดยอกเอ็นกล้ามเนื้อแผล ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บหรืออักเสบ รวมถึงการเสริมสร้างกระดูกและผิวข้อ และฟื้นฟูอวัยวะที่มีการเสื่อมหรือบาดเจ็บ

PRP เหมาะสำหรับใคร?

  • การฉีดเกล็ดเลือดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มแรกและปานกลางของโรค โดยที่กระดูกอ่อนยังเสียหายไม่มาก
  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเรื้อรังและใช้วิธีการรักษาโดยการใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบไม่ได้ผล หรือใช้วิธีกายภาพบำบัดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

ข้อจำกัดในการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP

ถึงแม้ปัจจุบันจะมีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น PRP จะช่วยส่งเสริมให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองและเกิดการสร้างเซลล์ใหม่เร็วขึ้น และยังช่วยยับยั้งการอักเสบ และกระตุ้นการหายของกระดูกอ่อนโดยสร้างเนื้อเป็นเยื่อใหม่ขึ้นมาแทนที่

แต่วิธีดังกล่าวก็มีข้อจำกัด คือ มักไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดซึ่งจะได้ผลดีกว่า

บุคคลที่ไม่แนะนำให้รักษาด้วย PRP

  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โลหิตจางขั้นรุนแรง
  • ผู้ที่มีภาะวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น มีไข้ ไอ เป็นหวัด
  • ผู้ที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่จะทำหัตถการ
  • ผู้ที่มีอาการทางระบบภูมิคุ้มกัน เช่น รูมาตอยด์ SLE
  • ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

เตรียมตัวก่อนทำ PRP

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดยาPRP ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือหลีกเลี่ยงการรักษาประเภทอื่นๆที่นอกเหนือการดูแลของแพทย์ และจำเป็นต้องแจ้งยาโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ

  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • ทำจิตใจให้สบาย ไม่วิตกกังวล
  • ดูแลบริเวณจุดที่จะฉีดให้สอาด ไม่มีการบาดเจ็บและติดเชื้อบริเวณนั้น

ขั้นตอนการ PRP ฉีดพลาสมาเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง

ทำการเจาะเลือดจากผู้ป่วยที่จะนำมาปั่นเพื่อให้เกิดการแยกชั้น หลังจากนั้นจะมีการเตรียมผ่านหลอด เพื่อให้มีคุณภาพของพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูงอยู่ในที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเพื่อฉีดตามบริเวณที่รักษา เมื่อฉีดเรียบร้อยแล้วให้นั่งพักสังเกตอาการผลข้างเคียง บริเวณห้องพักประมาน 30 นาที

การปฏิบัติตันหลังทำ PRP

  • ควรงดการใช้แรงหรือการกระทำที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บในบริเวณข้อที่ฉีด ระยะเวลาประมาณ 3 วัน จนกว่าบริเวณที่ฉีดจะยุบบวม
  • ในบางรายอาจมีอาการปวดหรือตึงเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด ผู้ป่วยสามารถประคบเย็นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวมหลังฉีดได้
  • หลังจากประคบเย็นแล้ว สามารถประคบอุ่นต่อได้
  • งดเว้นการรับประทานยาแก้ปวด ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบสูง ประมาน 2 วันหลังจากที่ฉีด
  • สามารถทานยาแก้ปวดทั่วไปได้ อย่างพาราเซตามอล

การรักษาด้วยการฉีดเกล็ดเลือดต่างกับสเตียรอยด์อย่างไร?

การฉีดเกล็ดเลือดและสเตียรอยด์ ทั้งคู่มีคุณสมบัติลดการอักเสบของข้อและกระดูกอ่อนทั้งคู่ แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่บ่งชี้ว่าการฉีด PRP มีข้อดีมากกว่าและข้อเสียที่น้อยกว่าสเตียรอยด์

โดย PRP สามารถกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนซ่อมแซมตัวเอง และสร้างโปรตีนที่ลดอาการปวดเหนือสเตียรอยด์

ถึงแม้การฉีดสเตียรอยด์จะเป็นการรักษาที่ได้ผลชัดเจนระยะสั้น ช่วง 6 เดือนแรก แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงตามมาระยะยาวในผู้ป่วยบางราย เช่นความเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณข้อและ โอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น หรือชั้นผิวบริเวณที่ฉีดบางลงและมีสีผิดปกติ

การฉีดเกล็ดเลือดรักษาอะไรได้อีกบ้าง?

นอกจากการฉีดเพื่อรักษาข้อต่อกระดูกแล้ว ปัจจุบันมีการวิจัยที่บ่งชี้ว่าสามารถรักษาเนื้อเยื่อและเอ็นกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆที่มีการอักเสบเรื้อรังได้ เช่น โรครองช้ำ เอ็นร้อยหวายอักเสบ และ เอ็นข้อต่อทุกส่วนในร่างกาย

การฉีดเกล็ดเลือดรักษาอะไรได้อีกบ้าง?

นอกจากการฉีดเพื่อรักษาข้อต่อกระดูกแล้ว ปัจจุบันมีการวิจัยที่บ่งชี้ว่าสามารถรักษาเนื้อเยื่อและเอ็นกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆที่มีการอักเสบเรื้อรังได้ เช่น โรครองช้ำ เอ็นร้อยหวายอักเสบ และ เอ็นข้อต่อทุกส่วนในร่างกาย

ที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ฉีดอย่างไร?

ฉีดจำนวน 3 เข็ม เดือนละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไป อาการปวดจะดีตามลำดับขึ้นประมาน 6 เดือน ถึง 12 เดือน นอกจากนั้นยังสามารถฉีดในจุดอื่นๆได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เอ็นหัวไหล่อักเสบ รองช้ำที่ฝ่าเท้าอักเสบ หรือการปวดบริเวณข้อศอก เป็นต้น

_________________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ : ปวด อักเสบตามข้อ ฉีด PRP ช่วยข้อเข่า ช่วยได้ยังไง และต้องฉีดกี่ครั้ง ใช้เวลานานแค่ไหน?

นพ.สลักธรรม โตจิราการ

แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้