เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ห่างไกลสมาธิสั้น ?

เคล็ดลับดีๆ เลี้ยงอย่างไร ให้ห่างไกล"สมาธิสั้น" โดย นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์

โรคสมาธิสั้น คืออะไร?

โรคสมาธิสั้น เกิดจากปัญหาการเสียสมดุลของการทํางานและสารเคมีของสมองส่วนหน้า ส่งผลทําให้เกิดอาการสมาธิสั้นไม่สามารถทําอะไรนานนานได้ มักมีอาการ วอกแวกง่าย ซน นั่งนิ่งนิ่งไม่ค่อยได้ ชอบปีนป่าย หุนหันพันแล่น จะหงุดหงิดง่าย ใจร้อนไม่ชอบรอคอย พูดเยอะพูดแทรก อาการเหล่านี้จะเป็นกลุ่มอาการ ไม่ใช่อาการเดี่ยวๆ เวลามีอาการมักจะมีหลายหลายอย่างรวมกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ หรอผู้ปกครองไม่ต้องตกใจว่าทําไมมีอาการเยอะจัง เพราะเวลาเราแก้อาการสมาธิสั้น เราจะแก้จุดเดียวมันก็จะแก้ได้ทั้งหมด

สาเหตุของเกิดโรคสมาธิสั้น

จริงๆแล้ว มีหลายสาเหตุมารวมกันส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ ไม่ว่าตั้งแต่พันธุกรรมนะครับ นอกจากนั้นก็คือ ปัจจัยระหว่างมารดาตั้งครรภ์ ความเจ็บป่วยของมารดา การใช้เหล้าบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดเองก็มีผลเช่นกันไม่ว่าจะเป็นคลอดก่อนกําหนด เด็กเกิดมาแล้วมีตัวเหลืองหรือว่าระหว่างคลอดมามีการขาดออกซิเจน เด็กตัวเขียว เหล่านี้ก็ส่งผลได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยหลังคลอด คือ การเลี้ยงดู การที่คุณพ่อคุณแม่เองนะครับ ไม่ได้ฝึกระเบียบหรือว่าให้การตามใจมากเกินไป รวมถึงการเป็นต้นแบบนะครับ

และเนื่องจากเป็นยุคของดิจิทัล คือ การใช้อินเทอร์เน็ตมีปริมาณมาก ถ้าเกิดคุณพ่อคุณแม่ไม่จํากัดเวลา หรือว่าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด อาจจะส่งผลทําให้เด็กเป็นสมาธิสั้นได้ ในรายที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้ว อาการสมาธิสั้นจะแย่ลงทันที ดังนั้นหมอแนะนำให้เด็กเล่นแบบสมัยก่อน เช่น เล่นกับธรรมชาติ เล่นของเล่นแบบทั่วไป รวมถึงว่าการให้เวลาของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูก

นอกจากนี้ อาจเกิดจากปัญหาทางกาย เช่น โรคไทรอยด์นะ โรคซีด โรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงอาการภูมิแพ้ อาการปอดบวม โรคหอบหืด ก็ส่งผลทําให้มีอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบเห็นบุตรหลาน เริ่มแสดงอาการสมาธิสั้น ควรมาตรวจประเมินและรักษานะครับเพราะว่าบางครั้งเนี้ยอาจจะเป็นโรคทางกายซึ่งถ้าเราปล่อยไว้นานก็อาจจะมีผลทําให้อาการแย่ลงได้

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้