4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก...รู้ทันโรคมะเร็ง

4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก
โรคมะเร็งเกิดขึ้นในส่วนใดของร่างกายได้บ้าง ?

วันมะเร็งโลก กำหนดขึ้นในทุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล(UICC) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกร่วมใจกันต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายที่จะลดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ร่างกายที่มีความผิดปกติของ DNA หรือสารพันธุกรรมที่มีการเจริญเติบโต แบ่งตัวเพิ่มรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้จนเกิดการลุกลาม จนมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง ของร่างกาย ทั้งนี้โรคมะเร็งสามารถป้องกันตนเองได้ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

โรคมะเร็ง มีประเภทใดบ้าง ? และสามารถเกิดขึ้นในส่วนใดของร่างกายได้บ้าง ?

มะเร็งปากมดลูก

เป็นมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิง โดยหญิงไทยมักเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์หลัก ชนิด 16 และ 18, การมีคู่นอนหลายคน, มีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อย, การสูบบุหรี่ เป็นต้น

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก :

  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV (ปัจจุบันมีวัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์)
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • สวมถุงยางอนามัย และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเกินไป

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

          โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งส่วนนี้ คือ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, มีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน, กินเนื้อสัตว์อาหารแปรรูปและเนื้อแดง, พบประวัติคนในครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลลำไส้ ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ที่มาอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระปีละครั้ง และหากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

มะเร็งช่องปาก

          มะเร็งช่องปากเกิดขึ้นได้ในหลายตำแหน่งในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝรปาก เหงือก เพดานปาก เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการเจ็บ หรือมีก้อนและแผลในช่องปาก หรือเป็นร้อนในเรื้อรัง และมักพบรอยโรคสีขาว สีแดง ขาวปนแดง รวมถึงมีอาการชา เจ็บบริเวณใบหน้า ปาก และลำคอโดยไม่ทรายสาเหตุ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

          มักเกิดจากภาวะเซลล์เยื่อบุผิวด้านในของกระเพาะปัสสาวะที่เจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ จนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยมักพบในเพศชายช่วงอายุ 50-70 ปี ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นมักจะมีอาการปัสสาวะปนเลือด หรือ ปวดขณะปัสสาวะ

มะเร็งรังไข่ 

          เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนำไข่ ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้น และมักมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องหรือปวดอุ้งเชิงกราน หรือ คลำพบก้อนในช่องท้อง เป็นต้น

มะเร็งต่อมลูกหมาก

          เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4  ของเพศชาย และมีอัตราผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นมะเร็งที่เกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลลต่อมลูกหมากจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง โดยสัญญาณเตือน ได้แก่

  • ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก
  • ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะหยุดเป็นช่วงๆ
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • รู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะ หรือหลั่งอสุจิ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

          คือ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย โดยปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดจาก ปัจจัยด้านภูมิคุ้มกันลดลง การสัมผัสสารเคมี ปัจจัยทางพันธุกรรม ทั้งนี้ควรหมันสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และรีบปรึกษาแพทย์ทันที

มะเร็งเต้านม

          มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมักมีปัจจเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น, เคยเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งที่เต้านม ,มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งที่เต้านม, มีประจำเดือนเร็ว ก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดหลังอายุ 55 ปี, ได้รับรังสีที่เต้านม หรือทรวงอก, ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          7 สัญญาณมะเร็งเต้านม

  1. มีก้อนเต้านมหรือรักแร้
  2. รูปร่างขนาดเต้านมแปลี่ยนไป
  3. มีน้ำผิดปกติไหลออกจากหัวนม
  4. หัวนมบอด หรือมีแผลเรื้อรัง
  5. มีรอยบุ๋ม รอยย่น ผื่นคันตรงลานหัวนม
  6. มีการเจ็บผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรรักแร้
  7. ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม รอยย่น บวมหนาคลายเปลือกส้ม
อ่านบทความเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมเพิ่มเติม

มะเร็งตับและท่อน้ำดี

          มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานที่ผิดปกติและพัฒนาเป็นมะเร็ง มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ภาวะตับแข็ง การได้รับสารพิษจากเชื้อรา การดื่มแอลกอฮอล์

          มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวกายในท่อน้ำดี มีการเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย มีปัจจัยเสี่ยงจากมีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง หรือการติดเชื้อพยาธิใบไม้ดิบจากการกิจปลาน้ำจืดดิบ

          แนวทางป้องกันโรค

  • รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรกเกิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง

มะเร็งปอด

          มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่คนทั่วโลกป่วยและเสียชีวิตมากที่สุด โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการ ไอเรื้อรัง-เสมหะปนเลือด, หายใจลำบาก มีเสียงหวีด, ปอดติดเชื้อบ่อย, เหนื่อยง่าย อ่อนแพลีย

          ปัจจัยเสี่ยง : สูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่, สัมผัสสารก่อมะเร็ง, มลภาวะทางอากาศ เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ https://allaboutcancer.nci.go.th/

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้