5 วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรฉีด เพื่อป้องกันความรุนแรงและอาการแทรกซ้อนของโรค

เพราะการฉีดวัคซีน.. ป้องกันได้

การฉีดวัคซีนจะสามารถช่วย..

  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ลดอัตราการเจ็บป่วย
  • ลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
  • ป้องกันการป่วยหนัก ลดการนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
  • ลดอัตราการเสียชีวิต

ยิ่งสูงอายุ ระบบภูมิคุ้มกันยิ่งลดลง เสี่ยงอาการหนักหากรับเชื้อ

1.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ Highdose

เชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปการติดเชื้อไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 3-5 วันหลังจากมีอาการ แต่หากเป็นผู้สูงอายุจะมีอัตราเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตก็สูงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

ฉีดบ่อยแค่ไหน? : ควรฉีดปีละ 1 ครั้ง

2.วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

ควรฉีดในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึนไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัย มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งปอดอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการติดเชื้อ และเชื้อโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดอักเสบคือเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง การติดเชื้อปอดอักเสบจะส่งผลให้การทำงานของระบบหายใจแย่ลง และทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุดได้

3.วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นบาดทะยักส่วนใหญ่มักไม่มีประวัติรับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน

ฉีดบ่อยแค่ไหน? : ควรฉีดกระตุ้นภูมิทุกๆ 10 ปี

4.วัคซีนงูสวัด

แนะนำในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคงูสวัด และช่วยลดความรุนแรงของอาการงูสวัดได้ ทั้งนี้คนที่เคยเป็นโรคไข้สุกใสมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคงูสวัดได้

ฉีดบ่อยแค่ไหน? : ผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรรับวัคซีนเข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 2-6 เดือน โดยวัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดและอาการปวดปลายประสาทหลังเป็นโรคงูสวัดในคนกลุ่มนี้ได้มากกว่าร้อยละ 90

5.วัคซีนไวรัสตับอักเสบ Aและ B

วัคซีนไวรัสตับอักเสบ Aและ B สามารถฉีดได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป เพราะการฉีดวัคซีนช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบได้อย่างเห็นผล โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบีที่อาจร้ายแรงถึงชีวิตหากป่วยเรื้อรัง จึงควรใส่ใจและเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด

ฉีดบ่อยแค่ไหน? : ควรฉีด 3 เข็ม  หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และฉีดเข็มที่ 3  หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน 

สุดท้าย สำหรับใครที่ต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนเสมอ


รับชมวิดีโอ :

บทความโดย
นพ.กันตพงศ์ รุ้งวราห์รัตน์

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้