IUI ทางเลือกผู้มีภาวะมีบุตรยาก

ในบทความนี้จะพูดถึงวิธี IUI ที่แพทย์แนะนำให้เป็นวิธีลำดับต้นๆ ที่ควรพิจารณาหากต้องการมีลูก

IUI คืออะไร?

IUI (ไอยูไอ) Intra – Uterine Insemination

เป็นนำน้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายที่ผ่านการคัดกรองตัวที่แข็งแรงแล้ว เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงโดยตรง ในช่วงเวลาตกไข่  (ไข่และอสุจิปฏิสนธิเอง)  เพื่อเป็นการย่นระยะทางให้อสุจิเจอกับไข่เร็วขึ้น เป็นวิธีใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง เป็นการปฏิสนธิแบบธรรมชาติ ไม่ใช่การปฏิสนธิภายนอก หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว แบบ IVF/ICSI

วิธีนี้ ฝ่ายชายควรมีตัวอสุจิที่แข็งแรงหลังการผ่านการคัดกรองแล้ว 1 ล้านตัวขึ้นไป หากมีน้อยกว่านั้นโอกาสตั้งครรภ์จะน้อยลงมาก

ทำไมถึงต้องทำ IUI?

เนื่องจากปัญหาการมีบุตรยาก ที่เกิดจากการที่อสุจิไม่สามารถว่ายผ่านไปถึงไข่ได้ ซึ่งวิธี IUI จะทำให้โอกาสที่อสุจิกับไข่จะเจอ และปฏิสนธิกันมีสูงขึ้น เนื่องจาก

  • ย่นระยะการเคลื่อนไหวของอสุจิถึงไข่ให้สั้นลง
  • ลดการตายหรือเชื้ออสุจิฝ่อจากกรดในช่องคลอดลงคัดเลือกเชื้ออสุจิที่คุณภาพดีทำให้ปริมาณอสุจิไปถึงไข่มีมากขึ้นเพราะไม่ต้องผ่านมูกที่ปากมดลูก และในสตรีบางคนอาจมีภาวะปากช่องคลอดตีบร่วมด้วยฉีดเชื้อตรงกับวันที่ไข่ตกเพิ่มจำนวนฟองไข่ต่อรอบเดือน
  • เตรียมเยื่อบุโพรงมดลุกให้เหมาะสม

โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จหลังทำ IUI มีมากน้อยเพียงใด?

  • โดยปกติแล้ว IUI มีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 5-15% ต่อรอบการรักษา จะมากกว่าการปฏิสนธิแบบธรรมชาติประมาณ 2 เท่า
  • ต่ำกว่า 35 ปี : 10-20 เปอร์เซ็นต์ระหว่าง 35-40 ปี : 10 เปอร์เซ็นต์
  • มากกว่า 40 ปี : 2-5 เปอร์เซ็นต์
  • ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อายุของฝ่ายหญิง ความสมบูรณ์ของไข่ ความแข็งแรงของอสุจิ ตลอดจนความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ฉีดเชื้อ

วิธี IUI เหมาะสำหรับใครบ้าง?

  • แก้ไขภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ (Unexplained infertility)
  • ฝ่ายชายที่
    • มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเชื้อ เช่น ความเข้มข้นน้อย ปริมาณน้ำเชื้อน้อย อสุจิมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนที่หรือแข็งแรงไม่พอ
    • มีเชื้ออสุจิที่เคลื่อนที่ได้ดีในจำนวนที่มากเพียงพอ คือต้องมีมากกว่า 5 ล้านตัวขึ้นไป 
  • ฝ่ายหญิงที่
    • ไข่ตกน้อย
    • ผู้หญิงมีมูกช่องคลอดเหนียวข้นเกินไป อสุจิเข้าว่ายเข้าไม่ได้

ข้อดีของการทำ IUI

  • เจ็บตัวน้อยที่สุด
  • วิธีใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
  • วิธีการไม่ยุ่งยาก
  • ไม่เจ็บตัวเท่ากับการทำเด็กหลอดแก้ว
  • ทำได้ทุกรอบเดือน
  • ไม่ต้องพบแพทย์บ่อย
  • ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว
  • คู่สมรสไม่ได้อยู่ด้วยกัน สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาที่ต้องการ โดยการฝากน้ำเชื้อแช่แข็ง
  • ในบางกรณีสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ยากระตุ้น

ข้อจำกัดการทำ IUI (ผู้ที่ไม่เหมาะจะทำIUI)

  • ฝ่ายหญิงที่ท่อนำไข่หรือปีกมดลูกอุดตันทั้งสองข้าง ทำให้อสุจิไม่สามารถเข้าถึงไข่ได้
  • ฝ่ายหญิงที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานจากภาวะเยื่อมดลูกเจริญผิดที่ระดับรุนแรง
  • ฝ่ายชายไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อได้ หรือมีน้ำเชื้อน้อยกว่า 1 ล้านตัว
  • ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือทั้งสองฝ่าย ผ่านการทำหมันมาแล้ว
  • เคยฉีดน้ำเชื้อมามากกว่า 3 – 6 รอบ แล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จ
  • มีแนวโน้มที่ตัวอ่อนจะเกิดโรคทางพันธุกรรม

การเตรียมตัวก่อนทำ IUI

  1. พบแพทย์เฉพาะทางผู้มีบุตรยาก เพื่อรับคำปรึกษา
  2. การตรวจร่างกาย
  3. การติดตามผล
  4. การเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ
  5. การเตรียมน้ำเชื้อ
  6. กระบวนการผสมเทียม
  7. การพักฟื้นและการสังเกตอาการ
  8. ติดตามผลลัพธ์

เอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประชาชนของ สามีและ ภรรยา
  • ทะเบียนสมรส
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง ผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • หยุดการสูบบุหรี่ ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ลดอัตราการท้องนอกมดลูกและเพิ่มอัตราการคลอดมีชีวิตสูงขึ้น ในฝ่ายชายจะทำให้คุณภาพและน้ำเชื้ออสุจิดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา คาเฟอีน
  • ตรวจประเมินก่อนการตั้งครรภ์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กรณีที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายหญิง

รับประทาน Folic 5 mg. ต่อวัน อย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชาย

  1. งดการมีเพศสัมพันธ์ หรือการหลั่งน้ำเชื้อเป็นเวลา 3 – 5 วัน ก่อนการเก็บน้ำเชื้อ
  2. ทำความสะอาดมือ และอวัยวะเพศให้สะอาดก่อนการเก็บน้ำเชื้อ

ขั้นตอนการทำ IUI

  • ขั้นตอนการกระตุ้นไข่
  1. พบแพทย์ภายในวันที่5ของประจำเดือนเพื่อรับยากระตุ้นไข่
  2. นัดอัลตราซาวน์ดูขนาดฟองไข่
  3. ถ้าไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสมยาฉีดให้ไข่สุกระยะสุดท้ายและกระตุ้นไข่ตก ไข่จะตกหลังจากที่ฉีดยาใน 36 ชั่วโมงถัดไป
  4. ฉีดเชื้อจะฉีดในเวลา 36-42 ชั่วโมงหลังการฉีดยาให้ไข่ตก
  5. แพทย์จะนัดเก็บน้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายในวันที่นัดฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งการเตรียมตัวจะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 3 – 7 วัน
  6. น้ำเชื้ออสุจิจะถูกเก็บเองโดยฝ่ายชายนำเชื้อออกมาแล้วใส่ลงในกระปุกปลอดเชื้อที่คลินิกเตรียมไว้ให้ โดยเก็บในสถานที่ห้องส่วนตัวที่อยู่ในคลินิก ถ้าเก็บเองไม่ได้อาจจะต้องให้ภรรยาช่วยเก็บในห้องส่วนตัวร่วมด้วย หรือบางคนเก็บในห้องไม่ได้อาจจะต้องเก็บจากที่บ้านหรือโรงแรมแล้วนำเอาอสุจิมาภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงโดยไม่ต้องแช่แข็งหรือประคบอุ่นใดๆ
  7. เก็บน้ำเชื้อเพื่อเตรียมฉีดเชื้อ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เวลาเชื้ออสุจิละลาย และเตรียมคัดเชื้ออสุจิ
  • ขั้นตอนการฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก
  1. ฝ่ายหญิงจะต้องเปลี่ยนชุด จากนั้นนอนบนเตียงตรวจ คลุมผ้า ขึ้นขาหยั่ง
  2. แพทย์จะสอดเครื่องมือตรวจภายในเข้าไปในช่องคลอด
  3. ดูดเชื้ออสุจิเข้าสู่สายฉีดเชื้อ แล้วสอดสายฉีดเชื้อผ่านช่องคลอด ปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูก
  4. แพทย์ทำการฉีดเชื้อที่คัดแล้วเข้าไปในโพรงมดลูก
  5. จากนั้นคนไข้ก็สามารถเอาขาออกจากขาหยั่งและนอนราบได้
  6. นอนพักนิ่งๆ ประมาณ 30 นาที หลังทำฉีดเชื้อ เพื่อให้อสุจิเดินทางไปถึงไข่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติตัวหลังทำ IUI

  • อาจมีอาการปวดท้องหรือเลือดออกเล็กน้อย สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นไข้ร่วมด้วย แนะนำให้มาพบแพทย์ทันที
  • ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ในบางกรณีอาจมียาฮอร์โมนที่แพทย์จัดให้รับประทานหรือเหน็บช่องคลอดอาจช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
  • คนไข้สามารถกลับไปทำงานหรือออกกำลังกายได้ตามปกติ
  • สามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้ ซึ่งกรณีที่เชื้ออสุจิน้อย แนะนำให้มีเพศสัมพันธุ์หลังการฉีดเชื้อ1วันเพื่อจำนวนเชื้อแเละโอกาสการตั้งครรภ์
  • งดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง 2-3 วันหลังทำ
  • รับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เพื่อไม่ให้ท้องเสียซึ่งนำไปสู่การบีบตัวของมดลูกมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะมีผลต่อการตั้งครรภ์
  • รอ 2 สัปดาห์ ตรวจสอบการตั้งครรภ์ หลังการฉีดเชื้อ ประมาณ 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดให้มาตรวจสอบการตั้งครรภ์ ถ้ายังไม่ถึง 2 สัปดาห์ไม่ต้องรีบทดสอบการตั้งครรภ์ก่อน เพราะผลอาจผิดพลาดได้

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้

  • อาจเกิดการติดเชื้อ
  • อาจเกิดการระคายเคือง ในขั้นตอนการทำ IUI จะต้องสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านทางช่องคลอด อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและเลือดออกเล็กน้อย แต่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • อาจตั้งเกิดการครรภ์แฝด ผู้ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
  • ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด (Ovarian Hyperstimulation Syndrome, OHSS): ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะท้องอืด, กดที่บริเวณท้องแล้วเจ็บ, คลื่นไส้อาเจียน และอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหากมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำ IUI

Q: การทำ IUI สามารถเลือกเพศลูกได้ไหม?

  • การรักษาโดยการทำ IUI ไม่สามารถเลือกเพศลูกได้ เพราะการรักษาแบบนี้คล้ายกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ โดยแพทย์คัดเลือกเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้คัดเลือกแบบเจาะจงว่าเป็นอสุจิโครโมโซม X หรืออสุจิโครโมโซม Y ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วให้ผสมกับไข่เอง โดยไม่ทราบว่าอสุจิตัวนั้นจะเป็น โครโมโซม X หรือ Y
  • ในปัจจุบันมีเพียง IVF หรือ ICSI และการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนในภายหลังการปฏิสนธิเท่านั้นที่สามารถระบุเพศของตัวอ่อนได้
  • ทั้งนี้ ในปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้เลือกเพศลูกจากการทำเด็กหลอดแก้วได้ จึงไม่สามารถเลือกเพศจากวิธีการผสมเทียมใดๆ ได้เลย

Q: การทำ IUI เลือกมีลูกแฝดได้ไหม?

  • การรักษาด้วยวิธี IUI มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์แฝด
  • อัตราเฉลี่ยประมาณ 10-15 % หากอสุจิและไข่ปฏิสนธิกันมากกว่า 1 ใบ เนื่องจากการทำ IUI จะมีการรับประทานยา หรือฉีดยากระตุ้นไข่ทำให้มีไข่พร้อมตกมากกว่า 1 ใบ เมื่อฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก ไข่ที่ตกทั้งหมดสามารถปฏิสนธิกับอสุจิ และอาจจะสามารถเกิดครรภ์แฝดได้

Q: หากเป็นหมัน สามารถทำ IUIได้ไหม?

การทำหมันในฝ่ายหญิง : การผูกและตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นจึงไม่สามารถทำ IUI ได้ ต้องรักษาด้วยการทำ IVF/ICSI หรือผ่าตัดเพื่อแก้หมันเท่านั้น

การทำหมันในฝ่ายชาย : การผูกและตัดท่อนำน้ำเชื้อ ไม่สามารถทำ IUI ได้เช่นเดียวกับการทำหมันในฝ่ายหญิง ต้องรักษาด้วยการทำ IVF/ICSI หรือผ่าตัดเพื่อแก้หมันเท่านั้น

ทั้งนี้ การตรวจน้ำเชื้อแล้วไม่พบอสุจิ หรือพบอสุจิเพียงเล็กน้อย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ การอุดตันในระบบสืบพันธุ์ ไส้เลื่อน เส้นเลือดขอดบริเวณอัณฑะ หรือสภาวะแวดล้อมบางอย่าง ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยการทำ IVF/ICSI

Q: ผลลัพธ์การทำ IUI สำเร็จมากน้อยแค่ไหน? (เหมือนด้านบน)

  • โดยปกติแล้ว IUI มีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 5-15% ต่อรอบการรักษา จะมากกว่าการปฏิสนธิแบบธรรมชาติประมาณ 2 เท่า
    • ต่ำกว่า 35 ปี : 10-20 เปอร์เซ็นต์ระหว่าง 35-40 ปี : 10 เปอร์เซ็นต์
    • มากกว่า 40 ปี : 2-5 เปอร์เซ็นต์
  • ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อายุของฝ่ายหญิง ความสมบูรณ์ของไข่ ความแข็งแรงของอสุจิ ตลอดจนความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ฉีดเชื้อ

Q: การทำ IUI สามารถทำได้กี่ครั้ง?

  • การทำ IUI ติดต่อกันหลายรอบสามารถช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จ มักจะสำเร็จใน 3-4 ครั้ง แต่โดยทั่วไปสามารถทำต่อเนื่องได้ แต่ไม่ควรเกิน 6 ครั้งของการรักษา เนื่องจากอัตราความสำเร็จหรืออัตราการตั้งครรภ์สะสมหลังการทำ IUI 4-6 ครั้ง จะเริ่มคงที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยแพทย์อาจแนะนำให้ทำ 4-6 ครั้ง ถ้ายังไม่สำเร็จอีกให้พิจารณาการรักษาเป็นแบบ IVF/ICSI แทน
  • ทั้งนี้หากทำ IUI 2-3 ครั้งแล้วยังไม่สำเร็จ แพทย์อาจพิจารณาให้ประเมินหาสาเหตุซ้ำ เช่น ตรวจฉีดสีดูท่อนำไข่ หรือส่องกล้องในโพรงมดลูก เพื่อดูว่าสาเหตุที่ทำให้การทำ IUI ไม่สำเร็จเป็นเพราะเหตุใด
  • อย่างไรก็ตามในกรณีที่อายุมากกว่า 35 ปี ไม่แนะนำให้ฉีดเชื้อเกิน 4 ครั้ง เนื่องจากผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีนั้นมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลงตามธรรมชาติจากการผลิตไข่ที่มีความสมบูรณ์ลดลง หากฉีดเชื้อ 3-4 ครั้งแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ควรเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและให้ผลดีกว่า เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI)

Q: มีอาการแทรกซ้อนหลังการทำ IUI หรือไม่?

อาจมีอาการปวดท้องหรือเลือดออกเล็กน้อย สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นไข้ร่วมด้วย แนะนำให้มาพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจสามารถเกิดขึ้นได้

  • อาจเกิดการติดเชื้อ
  • อาจเกิดการระคายเคือง ในขั้นตอนการทำ IUI จะต้องสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านทางช่องคลอด อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและเลือดออกเล็กน้อย แต่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • อาจตั้งเกิดการครรภ์แฝด ผู้ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
  • ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด (Ovarian Hyperstimulation Syndrome, OHSS): ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะท้องอืด, กดที่บริเวณท้องแล้วเจ็บ, คลื่นไส้อาเจียน และอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหากมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรง

พญ.พัชรินทร์ เกียรติสารพิภพ

สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้