'ภาวะมีบุตรยาก' หนึ่งในปัญหาชีวิตคู่ จากสาเหตุที่คู่สามี-ภรรยา วางแผนที่จะมีบุตรช้า หรือ มีบุตรเมื่ออายุมาก โดยปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยีเพิ่มโอกาสการมีบุตรให้เลือกหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกวิธีการที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยวิธี IUI และอีกหนึ่งวิธีที่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ตั้งครรภ์มากที่สุด “IVF หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว”
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ IVF (ไอวีเอฟ) หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IN-VITRO FERTILIZATION)
เป็นเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ โดยการคัดเซลล์ไข่ ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชาย ปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการ เมื่อปฏิสนธิแล้ว จึงย้ายตัวอ่อน หรือเอ็มบริโอ (EMBRYO) กลับโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง โดยเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก
ICSI จะมีกระบวนการกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้วเหมือน IVF แต่จะแตกต่างกันตรงวิธีการปฏิสนธิ กล่าวคือ การทำ IVF จะปล่อยให้อสุจิปฏิสนธิกับไข่เองตามธรรมชาติ แต่การทำ ICSI จะมีการคัดเลือกอสุจิ 1 ตัว แล้วทำการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ดังนั้น ICSI จึงเหมาะกับผู้ที่มีอสุจิผิดปกติขั้นรุนแรงเกินกว่าจะทำIVF ได้ หรือในรายที่ไข่มีปัญหาซึ่งส่งผลให้อสุจิปฏิสนธิเองได้ยาก
ทั้งIVFและICSI ต่างเป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วที่มีประสิทธิภาพสูง โดยแพทย์จะแนะนำวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้กับคู่สมรสแต่ละคู่ โดยพิจารณาจากผลตรวจไข่และน้ำเชื้อ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
ส่วนกรณีที่ต้องทำการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรม (PGT) จำเป็นต้องใช้เทคนิค ICSI เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของ DNA
ข้อดีของการทำเด็กหลอดแก้ว | ข้อจำกัดในการทำเด็กหลอดแก้ว |
✓ สามารถตรวจโครโมโซม เพื่อลดความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ✓ สามารถตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมกลุ่มเสี่ยง บางอย่างภายในครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาทารกคลอดผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ✓ เป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สูง เทียบกับการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ และ การฉีดเชื้อ ✓ สามารถเก็บไข่ น้ำเชื้อและตัวอ่อนได้เป็นระยะเวลานาน ✓ สามารถทำได้ในฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่เคยผ่านการทำหมันมาแล้ว | ◉ ราคาค่อนข้างสูง ◉ ใช้เวลาในการกระตุ้นไข่และย้ายตัวอ่อนนาน ถ้าเทียบกับการฉีดเชื้อ แต่โอกาสตั้งครรภ์สูงกว่า ◉ ภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ภาวะรังไข่ตอบสนอง ต่อการกระตุ้นไข่มากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome หรือ OHSS) รวมถึงการตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อหลังการเก็บไข่ |
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาได้ เช่น
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากกําลังทำเด็กหลอดแก้วแล้วมีอาการดังต่อไปนี้
ปัจจัยที่ทำให้ย้ายตัวอ่อนไม่สำเร็จนั้นมีอยู่หลายประการ ยกตัวอย่างเช่น
● คุณภาพตัวอ่อน ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดี หรือมีโครโมโซมผิดปกติ จะมีโอกาสฝังตัวสำเร็จต่ำกว่าตัวอ่อนที่คุณภาพดี ทั้งนี้ คุณภาพตัวอ่อน
เป็นผลมาจากคุณภาพไข่ คุณภาพอสุจิ สภาวะแวดล้อมที่ใช้เลี้ยงตัวอ่อน เป็นต้น
● คุณภาพของโพรงมดลูกที่ฝังตัว ในบางรายที่มีความผิดปกติของโพรงมดลูกเช่น เนื้องอก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก มีการอักเสบของโพรงมดลูก
รวมไปถึงภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ จะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้ การเพิ่มคุณภาพของโพรงมดลูกที่สามารถทำเองได้ เช่น
การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารสุก สะอาด สารอาหารครบและเพียงพอ
หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และบุหรี่ ป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพรทานเอง
และหมั่นตรวจสุขภาพและตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ
● ปัญหาภูมิคุ้มกัน ในบางรายร่างกายจะมีการขับสารที่รบกวนการสร้างผนังเซลล์ และมีผลทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด
ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลโดยตรงที่จะเข้าไปขัดขวางการสูบฉีดเลือดส่งไปยังโพรงมดลูก และยับยั้งกระบวนการฝังตัวอ่อนลงทำให้ไม่สามารถฝังตัว
ของตัวอ่อนได้จนเกิดอาการแท้งในภายหลัง
● โรคประจำตัวที่ไม่ได้รักษา หรือยังควบคุมโรคไม่ได้
.......................................................................................................................................................................................................................
คำถามที่ 1: ทำแล้วจะท้องในครั้งแรกเลยหรือเปล่า?
ตอบ : อัตราปฏิสนธิของตัวอ่อนจากการทำ IVF และ ICSI อยู่ในเกณฑ์ไม่ต่างกันคือประมาณ 70-80 % ส่วนอัตราการตั้งครรภ์จากการทำ IVF และ ICSI
ใกล้เคียงกันราว 40 – 70% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ, สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก, และปัจจัยภาวะแวดล้อมอื่นๆ
คำถามที่ 2 : อาการที่บ่งบอกว่าตัวอ่อนไม่ติด?
ตอบ : โดยปกติแล้วแพทย์จะนัดตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์ 10-14 วันหลังย้ายตัวอ่อน หากมีอาการเลือดออกจากช่องคลอดก่อนนัด
แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ทันที อาจมีการปรับยาฮอร์โมนหรือเจาะเลือดเพิ่มเติมเพื่อลดการแท้งหรือตัวอ่อนเกาะไม่ติด
คำถามที่ 3 : น้ำหนักเยอะ สามารถทำเด็กหลอดแก้วได้ไหม?
ตอบ : ผู้ที่น้ำหนักเกินมาตรฐานทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย จะมีผลลดอัตราการตั้งครรภ์และอัตราการคลอดบุตร เนื่องจากลดอัตราการตกไข่ ลดคุณภาพของไข่ ลดจำนวนและคุณภาพของอสุจิ นอกจากนี้ หากเป็นเบาหวานร่วมด้วยแล้วจะยิ่งส่งผลต่อคุณภาพของไข่และอสุจิมากยิ่งขึ้น หรืออาจส่งผลให้หลั่งอสุจิไม่ออกได้
ในผู้ที่น้ำหนักเกินมาตรฐานก็สามารถทำเด็กหลอดแก้วได้ แต่คุณภาพของไข่และอสุจิที่ได้อาจไม่ดีเท่าในคนที่น้ำหนักตามมาตรฐาน จึงทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่และการเก็บไข่มากขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้ลดน้ำหนักโดยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารก่อนเริ่มการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยาหรือสมุนไพรเพื่อลดน้ำหนักก่อนการทำเด็กหลอดแก้วเนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการตอบสนองของรังไข่ต่อ ยากระตุ้นไข่ได้
คำถามที่ 4 : การทำเด็กหลอดแก้วมีอัตราความสำเร็จเท่าไหร่?
ตอบ : อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว อยู่ที่ประมาณ 40 – 60% ทั้งนี้ขึ้นกับ อายุ , สาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก, ตลอดจนลักษณะการดำเนินชีวิต คุณภาพไข่และอสุจิ ฝ่ายหญิงที่ยังอายุน้อยมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ก็มีหลายเคสของผู้เข้ารับการรักษาที่มีอายุมากและประสบความสำเร็จเช่นกัน การปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยให้วางแผนการรักษาได้ทันท่วงที และเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นได้
...................................................
สำหรับคู่รักที่เป็นกังวลเรื่องมีบุตรยาก อยากให้คลายกังวล เพราะปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์มีหลากหลายวิธี ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร ไม่ว่าจะเป็น วิธี IUI – Intrauterine Insemination การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง , IVF – In Vitro Fertilization การทำเด็กหลอดแก้ว , ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection การทำอิ๊กซี่ รวมถึง เทคโนโลยี PGT-A การตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซมตัวอ่อน โดยแต่ละวิธีการที่เหมาะสมสมควรตามแต่ละบุคคล เบื้องต้นสามารถเข้ามารับคำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ชีวิตครอบครัวที่มีลูกน้อย
_____________________________________________________________________________________________________________
รับชมวิดีโอ
พญ.พัชรินทร์ เกียรติสารพิภพ
สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน