APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

กรดไหลย้อน กินแล้วนอนต้องระวัง

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease ) เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อน ขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะ เป็นกรดในกระเพาะอาหาร โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหาร อักเสบก็ได้ โรคนี้มีความสำคัญ คือผู้ป่วยจะมีอาการแสบ ยอดอก หรือร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว (รู้สึกเหมือนมีกรด ซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมา ที่คอหรือปาก)

ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ หรือเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหาร ตีบหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ใน บางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการ ทางด้านของ โรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรังเสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการทาง ระบบหายใจ เช่น หอบหืด หรืออาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น...

  • การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลาย
  • ความดันของหูรูดของอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคน ปกติ หรือเกิดมีการเลื่อน ของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
  • เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

อาการสำคัญคือ อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้ว ถามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลัง รับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย อาการสำคัญอีกประการก็คือ อาการเรอเปรี้ยว คือมีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขม ไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการหรือ อาการ ใดอาการหนึ่งก็ได้ ในรายที่เป็นมากบางรายอาจมา ด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหาร อาทิ เจ็บหน้าอก จุกที่คอ มีอาการคล้ายมีอะไรติดหรือ ขวางอยู่บริเวณคอ เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง หอบหืด หรือมีกลิ่นปาก โดยหาสาเหตุไม่ได้

จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

โดยปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการ ดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มีอาการทั้งแสบยอดอก หรือ เรอเปรี้ยวแพทย์สามารถวินิจฉัยว่าได้เลยว่าผู้ป่วยมีภาวะ กรดไหลย้อนและให้การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับ การตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำ และดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นต้น

จะปฏิบัติตัวอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้

โดยทั่วไปเป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นให้ อาการของผู้ป่วยดีขึ้น รักษาอาการอักเสบของแผลในหลอดอาหาร และป้องกันผลแทรกซ้อน การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยน พฤติกรรมการดำเนินชีวิตการให้ยา, การส่องกล้องรักษาและ การผ่าตัด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนิน ชีวิต ซึ่งสามารถทําได้ดังต่อไปนี้

  • การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแล็ต
  • ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป
  • ระวังอาหารมื้อเย็น ไม่กินในปริมาณมากและไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
  • ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว

เมื่อปฏิบัติตัวเบื้องต้น แค้วอาการไม่ดีขึ้น ควรทําอย่างไร...

ถ้าการปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จำเป็น ต้องรับประทานยาร่วมด้วย โดยยาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน คือ ยาลดกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) หรือยาที่กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยที่แพทย์จะให้รับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ในบางรายที่เป็นมากอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยา เป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาจจะมีการ ปรับการรับประทานยาเป็นแบบช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่กี่วันตามอาการที่มีหรือกินติดต่อกันตลอดเป็นเวลา นาน อย่างไรก็ดีการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ในรายที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา การรักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้