APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ไวรัส HPV ตัวร้ายก่อ "มะเร็งปากมดลูก"

HPV หรือ Human Papilloma Virus ในปัจจุบันพบเชื้อ HPV มากกว่า 100 สายพันธุ์ (genotypes) แบ่งเป็น...

1. สายพันธุ์เสี่ยงต่ำ ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11,40,42,43,44,54,61,72,81

2. สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16,18,31,33,35,39,45,51,52,56,58,59,68,69,82

HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

  • 70% มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ HPV 16,18
  • 90% มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ HPV 16,18,31,33,45,52,58

เชื้อ HPV พบได้ที่ไหนบ้าง ?

  • โดยปกติมักพบเชื้อ HPV ในที่อับชื้น 
  • การสัมผัสทางผิวหนัง เพราะฉะนั้น พบได้ที่ด้ามกดชักโครก-ที่รองนั่ง-ก๊อกน้ำ   ของห้องน้ำห้างสรรพสินค้า โรงเรียนกวดวิชา ผับ อย่างไรก็ตาม การรับเชื้อจากห้องน้ำมีโอกาสต่ำที่จะทำให้เกิดโรค
  • การมีเพศสัมพันธ์

ปกติการติดเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศสามารถพบได้ทั่วไป แต่ที่จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกจริงๆในสตรีนั้นพบเป็นสัดส่วนที่น้อย โดย 75-80% ของคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ได้รับเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศก่อนอายุ 50 ปี ส่วนใหญ่การติดเชื้อ HPV จะเป็นแบบชั่วคราว ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปได้ภายใน 1-2 ปี แต่ถ้าการติดเชื้อเป็นแบบติดทนนาน ก็จะสามารถพัฒนาทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ และพัฒนาไปเป็น HSIL จนเกิดเป็น invasive cancer ใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

ในระยะเริ่มแรกหรือในระยะก่อนเป็นมะเร็งผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดง (สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ) เมื่อเริ่มเป็นมากขึ้นหรือมะเร็งลุกลามมากขึ้นจะพบว่ามีอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณ 80-90% ดังนี้

  • เลือดที่ออกมาอาจจะเป็นเลือดออกแบบกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน
  • เลือดออกในขณะหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
  • ประจำเดือนมานานผิดปกติ
  • อาจมีตกขาวมากผิดปกติ อาการตกขาวมีกลิ่นเหม็น และ/หรือมีเลือดปนออกมาด้วย

ทั้งนี้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วหรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง จะมีอาการดังนี้

  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง ปวดก้นกบ หรือปวดหลังร้าวลงขา หากโรคไปกดทับเส้นประสาท
  • อาจขาบวม หากโรคลุกลามไปกดทับท่อน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานหรือทำให้ท่อน้ำเหลืองเหล่านั้นอุดตัน
  • อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือดหากโรคลุกลามเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ อาจมีปัสสาวะผิดปกติ หรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หากโรคลุกลามไปกดทับท่อไต (ทางเดินปัสสาวะถูกอุดกั้นจากก้อนมะเร็ง)

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง ได้แก่...

  • มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี)  
  • อายุอยู่ในช่วง 30 - 50 ปี  
  • มีคู่นอนหลายคน สำส่อนทางเพศ  
  • มีประวัติเคยติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อซิฟิลิส หนองใน เริม หูดหงอนไก่
  • ไม่เคยตรวจภายใน
  • เคยมีความผิดปกติของปากมดลูก จากการตรวจภายในและทำ Pap Smear
  • มีประวัติสูบบุหรี่ หรือดมควันบุหรี่เป็นประจำ
  • ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย ได้แก่...

  • สตรีที่มีคู่นอนเป็นมะเร็งองคชาติ
  • เคยมี ภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • เคยเป็นโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์
  • ผ่านประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อยหรือมีคู่นอนหลายคน

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ ไวรัส HPV

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV
  • การตรวจภายในเพื่อคัดกรอง

วัคซีน HPV ในประเทศไทย ได้แก่...

  • วัคซีนป้องกันแบบ 2 สายพันธุ์ คือ ไวรัส 16, 18
  • วัคซีนป้องกันแบบ 4 สายพันธุ์ คือ ไวรัส 6, 11, 16, 18
  • วัคซีนป้องกันแบบ 9 สายพันธุ์ คือ ไวรัส 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58

การฉีดวัคซีน HPV ทำอย่างไร ?

ทำโดยฉีดวัคซีนจำนวน 0.5  ซีซี เข้ากล้ามเนื้อ ต้นแขนโดยขนาดการฉีดตามอายุ คือ

  • เด็กอายุ 9-15 ปี : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน*
  • อายุตั้งแต่ 15-45 ปี: ฉีด 3 เข็ม

โดยห่างจากเข็มแรก 2 และ 6 เดือนตามลำดับ ไม่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากการตรวจติดตามภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีนเป็นระยะเวลา 14 ปี ยังสูงพอในการป้องกันการติดเชื้อ*

ข้อควรเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน HPV

  • 90% ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากไวรัส HPV
  • สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58
  • 90% ของโรคหูดหงอนไก่เกิดจากไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11
  • วัคซีน HPV ป้องกันได้เฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีในวัคซีนเท่านั้น (ปัจจุบันวัคซีนทั้งสองชนิดมีข้อมูล เรื่องการป้องกันข้ามสายพันธุ์ แต่ยังไม่ทราบประโยชน์ที่ชัดเจน จึงควรพิจารณาจากสายพันธุ์หลักที่อยู่ในวัคซีน)
  • การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นๆ ยังมีความจำเป็นอยู่ แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม
  • ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ  HPV ก่อนการฉีดวัคซีน

บทความโดย
พญ.อัญสุมาลิณทร์ คำขาว

ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มเติม :

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คลิก

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส HPV 9 สายพันธุ์ คลิก

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้